ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเชื่อมโลหะ

-เพราะเหตุใด มุมทังสเตนจึงมีผลต่อการเชื่อม?
เขียนโดย ชัชชัย อินนุมาตร บจก. เทอร์มอล แมคคานิคส์ “….มุมของปลายทังสเตน มีผลต่อลักษณะของอาร์คและการกระจายความหนาแน่นของพลังงานอีกทั้งส่งผลต่อลักษณะการหลอมลึกของแนวเชื่อม มุมทังสเตนที่แหลม จะทำให้อาร์คกว้างและมีการหลอมลึกที่ตื้น….” ในการเชื่อมแบบก๊าซทังสเตนอาร์ค หรือ ทิก ( Gas Tungsten Arc Welding or Tungsten Inert Gas; TIG) หรือตามภาษาช่างเชื่อมทั่วไปรู้จักกันว่า “การเชื่อมอาร์กอน” นั้น เป็นที่ทราบกันดีว่า การเชื่อมลักษณะนี้จะเป็นการเชื่อมโดยอาศัยการอาร์คระหว่างแท่งอิเล็คโทรดที่ทำจากทังสเตนกับชิ้นงานที่นำมาเชื่อม จนกระทั่งเกิดบ่อหลอมละลายและเกิดการประสานกันระหว่างชิ้นงาน โดยที่อาจจะใช้ลวดเชื่อมร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น ชิ้นส่วนสำคัญชิ้นหนึ่งที่จำเป็นและขาดเสียมิได้ สำหรับกระบวนการเชื่อมแบบนี้คือ แท่งทังสเตนที่ทำหน้าที่เป็นอิเล็คโทรดนั่นเองและเป็นที่ทราบกันดี ในหมู่ช่างเชื่อมว่าทังสเตนที่นำมาใช้นั้นมีหลากหลายชนิด และต้องมีการเตรียมหรือทำการลับปลายทังเสตนให้ถูกต้องตามลักษณะของงานที่ทำการเชื่อม โดยทั่วไป กรณีการเชื่อมอลูมิเนียม ที่ใช้ทังสเตนบริสุทธิ์ที่มีรหัสสีเขียว จะมีการเตรียมปลายทังสเตนให้เป็นรูปทรงมน แต่การเชื่อมโลหะอื่น เช่นสแตนเลส หรือเหล็กกล้านั้น จะใช้ทังสเตนอิเล็คโทรดที่มีการผสมอ๊อกไซด์ของธาตุอื่นๆ เจือลงไป เพื่อเพิ่มความคงทนต่อกระแสเชื่อมและเกิดความเสถียรของอาร์ค ทังสเตนกลุ่มหลังนี้ จะมีรหัสสีแตกต่างออกไป เช่น […]

– เพิ่มคุณภาพในการเชื่อมอลูมิเนียมแบบทิก ด้วยการเลือกใช้ทังสเตนอิเล็คโทรดที่ถูกต้อง
ผู้เขียน ชัชชัย อินนุมาตร ….งานเชื่อมอลูมิเนียมที่ดี ต้องใช้เครื่องเชื่อมดี และใช้ทังสเตนอิเล็คโทรดให้ถูกต้อง การเลือกใช้ทังสเตนอิเล็คโทรดที่เหมาะสมกับงาน นับเป็นก้าวแรกของการควบคุมคุณภาพงานเชื่อม. แม้ว่าการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี จะเป็นไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทำให้วิธีการเชื่อมโลหะสามารถปฏิบัติได้ง่าย และมีระบบหรือวิธีการเชื่อมหลากหลายให้เลือกใช้ แต่ในภาคอุตสาหกรรมของไทย การเชื่อมโลหะจำพวกอลูมิเนียม หรือแมกนีเซียม ส่วนมากยังคงใช้กรรมวิธีการเชื่อมแบบก๊าซทังสเตนอาร์ค (Gas Tungsten Arc Welding; GTAW) หรือ ทิก (Tungsten Inert Gas; TIG) หรือที่ช่างเชื่อมทั่วไปมักจะเรียกว่า “การเชื่อมแบบอาร์กอน” เนื่องจากเป็นวิธีการเชื่อมที่ให้คุณภาพงานเชื่อมที่ดีมาก สามารถควบคุมแนวเชื่อมได้ง่าย มีต้นทุนในการปฏิบัติงานต่ำ แต่อย่างไรก็ตาม การเชื่อมโลหะอลูมิเนียมหรือแมกนีเซียมด้วยการเชื่อมแบบทิก เจ้าของงานยังต้องอาศัยช่างเชื่อมที่มีความชำนาญ คุณภาพงานเชื่อมที่ได้นั้นขึ้นอยู่กับฝีมือและประสบการณ์ของช่างเชื่อมมากกว่าร้อยละ 80 แม้ว่าเจ้าของงานอาจจะจัดหาเครื่องเชื่อมที่ดีและอุปกรณ์ช่วยในการเชื่อมหรืออุปกรณ์ประกอบอื่นๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพงานเชื่อมก็ตาม แต่ชิ้นส่วนพื้นฐานที่มีอิทธิพลต่อรูปลักษณะของแนวเชื่อม ความกว้าง ความลึกของแนวเชื่อม และส่งผลต่อคุณภาพงานเชื่อมโดยตรง โดยที่เจ้าของงานอาจจะมองข้ามความสำคัญไป นั่นคือทังสเตนอิเล็คโทรด ดังนั้นการเลือกใช้ทังสเตนอิเล็คโทรดที่ถูกต้อง นับว่าเป็นก้าวแรกของการควบคุมคุณภาพงานเชื่อมที่สามารถทำได้ง่ายที่สุด เจ้าของงานหรือช่างเชื่อมส่วนมากต่างเชื่อว่าทังสเตนบริสุทธิ์ (ทังสเตนรหัสสีเขียว) เหมาะสำหรับการเชื่อมอลูมิเนียมและแมกนีเซียม […]

– ลดเม็ดเชื่อม ด้วยการปรับอินดักแต๊นซ์
ผู้เขียน ชัชชัย อินนุมาตร ……“เม็ดเชื่อม” หรือ “สะเก็ดเชื่อม” ชื่อเรียกง่ายๆ ตามนิยมของช่างเชื่อม มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Spatter (สแปตเตอร์) ผิวหน้างานที่อุดมด้วยเม็ดเชื่อม ไม่ต่างอะไรกับใบหน้าที่เต็มไปด้วยเม็ดสิว มองยังไงก็ไม่เป็นที่ชื่นชม” ในบทความนี้ จะกล่าวถึง Spatter ที่เกิดขึ้นในกระบวนการเชื่อมแบบ MIG/MAG และการใช้ฟังก์ชั่นการทำงานของเครื่องเชื่อมช่วยลดอัตราการเกิด spatter……… ////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////// ……..แจ๊ดดดดดดดดด……หลังจากสิ้นสุดเสียงเชื่อมและแสงไฟเชื่อมดับลง ผมสะดุ้งตกใจเล็กน้อยกับเสียงอันดุดันที่อยู่ด้านหลังผม “เอ็งเชื่อมยังไงเนี่ย ทำไมเม็ดเชื่อมเต็มไปหมด ยังงี้เด็กก็เก็บงานกันตายสิ” เสียงพี่หมู หัวหน้าฝ่ายผลิต ตะเบ็งเสียงแข่งกับเสียงเครื่องจักรที่อยู่ใกล้ๆ “ผมปรับไฟดีแล้วนะพี่ ดูสิ แนวเชื่อมก็สวยนะ แต่ทำไมเม็ดเชื่อมมันเยอะก็ไม่รู้” ผมไม่วายที่จะเถียงเล็กน้อย “แล้วทำไมเอ็งไม่ปรับอินดักแต๊นซ์ เนี่ย! ปุ่มนี้” พี่หมูชี้ไปที่เครื่องแล้วเอื้อมมือไปปรับปุ่มที่หน้าเครื่องให้ “เอ๊า ! ลองเชื่อมดูใหม่” “เออ…. จริงด้วยพี่ เม็ดเชื่อมหายไปเยอะเลย. ทำไมล่ะครับ ?” ผมอุทานถามอย่างแปลกใจ หลังจากเชื่อมใหม่อีกครั้ง […]

– ไอระเหย ควันและแก๊สจากการเชื่อมโลหะ อันตรายที่ถูกมองข้าม
เรียบเรียงโดย ชัชชัย อินนุมาตร ในปัจจุบันกระบวนการเชื่อมโลหะนั้นนับว่ามีความสำคัญมากอย่างหนึ่งในอุตสาหกรรม ในผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่งๆ อาจจะต้องมีการประกอบจากชิ้นส่วนโลหะย่อยๆเป็นสิบเป็นร้อยชิ้น การประกอบงานนั้นหากว่าไม่มีการเชื่อมโลหะแล้วอาจทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นได้มากทีเดียว และเคยมีผู้กล่าวไว้ว่ารถยนต์ที่ท่านใช้อยู่อาจจะมีราคาแพงกว่าหลายเท่าตัวถ้าไม่ใช้การเชื่อมโลหะ แต่หากท่านสังเกตจะพบว่า เมื่อใดที่มีการเชื่อมโลหะจะต้องมีควันเกิดขึ้นทุกครั้ง และท่านได้คิดบ้างหรือไม่ว่า ควันที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอันตรายต่อท่านและมันสามารถทำให้ท่าน “ตายผ่อนส่ง” ได้อย่างไม่รู้ตัว ช่างเชื่อมที่เชื่อมโลหะในงานบางประเภท เช่น การเชื่อมสแตนเลส, เหล็กเคลือบสังกะสี หรือ ท่อเหล็กเคลือบสังกะสี หรือการเชื่อมชิ้นงานที่ผ่านการชุบเคลือบผิวมาแล้ว บุคคลจำพวกนี้มักจะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายสูง ในการเชื่อมโลหะจะมี ไอระเหย (Fumes) เกิดขึ้นจากการที่โลหะได้รับความร้อนสูงจนกระทั่งหลอมละลายและเกิดไอระเหยของโลหะ เมื่อไอระเหยถูกควบแน่น (Condense) จะอยู่ในรูปอนุภาคของแข็งที่ละเอียดมาก (Solid fine particle) [1] ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน (0.001 มม.) [2] ไอระเหยนี้จะมีส่วนประกอบสองส่วน คือไอระเหยที่มองเห็นได้ ซึ่งเราจะเห็นในลักษณะเปลวควันและอยู่ในรูปของออกไซด์ของโลหะ และไอระเหยที่มองไม่เห็นซึ่งเป็นส่วนประกอบของแก๊ส เรียกว่าไอระเหยของแก๊ส [5] ซึ่งมาจากแก๊สที่ใช้ในการเชื่อมหรืออาจจะมาจากการสลายตัวของฟลักซ์เนื่องจากความร้อนในการเชื่อมก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นไอระเหยชนิดใดก็สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อช่างเชื่อมได้ โดยที่ควันและไอระเหยต่างๆ นี้จะลอยขึ้นสู่ด้านบนเนื่องจากความร้อน และอนุภาคขนาดเล็กก็จะลอยอยู่ในอากาศบริเวณที่ทำการเชื่อม […]

– 6 ขั้นตอนที่ถูกต้องในการแล่นประสาน
ผู้เรียบเรียง : ชัชชัย อินนุมาตร การแล่นประสาน เป็นคำภาษาไทยที่แปลความหมายมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Brazing ในเชิงวิชาการจะเรียกการต่อโลหะแบบ Brazing ว่า “การแล่นประสาน” หรือ “การบัดกรีแข็ง” ในขณะที่คำว่า Soldering ในเชิงวิชาการจะเรียกว่า “การบัดกรีอ่อน” หรือ “การบัดกรี” โดยในการใช้งานปัจจุบัน การ Brazing จะสื่อความกันด้วยคำทับศัพท์ ว่า “บราซซิ่ง” หรือ “เบรซซิ่ง” กล่าวโดยย่อ การ Brazing คือการต่อโลหะวิธีหนึ่งโดยการให้ความร้อนแก่รอยต่อ จนกระทั่งถึงอุณหภูมิที่สามารถทำให้โลหะเติมหลอมละลาย โดยทั่วไปจะมีระดับอุณหภูมิสูงกว่า 450°C แตไม่ถึงระดับอุณหภูมิหลอมเหลวของโลหะชิ้นงาน เมื่อให้ความร้อนแก่รอยต่อจนกระทั่งถึงระดับอุณหภูมิที่สามารถทำให้โลหะเติมหลอมละลายแล้ว ก็จะป้อนโลหะเติมหรือลวดให้เข้าไปประสานกับรอยต่อและปล่อยให้เย็นตัวลง ก็จะได้รอยต่อที่ประสานกันอย่างสมบูรณ์ กระบวนการต่อโลหะด้วยวิธี Brazing นี้ ดูเหมือนง่ายและไม่ซับซ้อน แต่ความจริงในทางปฏิบัติ จะมีรายละเอียดปลีกย่อยพอสมควรที่ผู้ใช้จะต้องพิจารณาและตระหนักถึงเสมอในขณะที่ปฏิบัติงาน ขั้นตอนในการปฏิบัติที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญในการปฏิบัติงานแบบ Brazing การละเลยข้อปฏิบัตินี้ ส่งผลต่อความล้มเหลวในการปฏิบัติงานและทำให้ได้รอยต่อที่ไร้ซึ่งคุณภาพในที่สุด […]

-เชื่อมอลูมิเนียม กับคำถามยอดฮิต
อลูมิเนียม โลหะยอดนิยมชนิดหนึ่งในบ้านเรา ที่นิยมใช้ทำเป็นชิ้นส่วนเครื่องจักร ไม่ว่าขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ไปจนถึงยานยนต์ บรรจุภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ แน่นอนว่า การนำชิ้นส่วนโลหะมาประกอบกันนั้น บางครั้งหลีกหนีการเชื่อมไม่พ้น บ่อยครั้งที่ผู้ใช้เกิดคำถามว่าควรจะเลือกใช้ลวดเชื่อมเบอร์หรือเกรดใดดี อันนี้คือหนึ่งในคำถามยอดฮิตเลยละครับ สำหรับบทความนี้ เป็นบทสรุปของการเลือกใช้ลวดเชื่อมเกรด 5356 และ 4043 ซึ่งลวดเชื่อม 2 เกรด หรือ 2 เบอร์นี้ เป็นลวดเชื่อมที่นิยมใช้และหาซื้อได้ง่ายในบ้านเรา แต่พบว่าผู้ใช้งานหลายท่านยังไม่ทราบเกี่ยวกับข้อแตกต่างระหว่างลวดเชื่อม 2 เบอร์นี้ บางท่านเข้าใจว่าลวดเชื่อม 2 เบอร์นี้ใช้ทดแทนกันได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง สำหรับการเลือกใช้ลวดเชื่อมอลูมิเนียมนั้น ผมเคยเขียนบทความมาบ้างแล้ว สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยอ่าน สามารถตามอ่านได้ตามนี้ครับ 6 กรณีศึกษา การเลือกใช้ลวดเชื่อม สำหรับการเชื่อมอลูมิเนียม สิ่งสำคัญในการเลือกใช้ลวดเชื่อมอลูมิเนียม อลูมิเนียมที่ใช้ในงานโครงสร้าง มีหลากหลายเบอร์ และแน่นอนว่าสามารถเลือกใช้ลวดเชื่อมได้หลายเกรดหลายเบอร์เช่นกัน ตัวอย่างเช่น อลูมิเนียมเบอร์ 5052 ที่มีปริมาณแมกนีเซียม 2.5% สามารถใช้ลวดเชื่อมได้ทั้งเกรด 5356 […]

– ลวดเชื่อมแบบม้วน มีความยาวกี่เมตร ??
ผู้ที่อยู่ในวงการเชื่อมโลหะหรือผู้ที่ทำงานในสายงานที่เกี่ยวข้องกับเส้นลวด ไม่ว่าจะเป็นลวดเหล็ก ลวดสแตนเลส ลวดอลูมิเนียม หรือลวดโลหะใดก็ตาม เคยสงสัยไหมครับว่า ปริมาณลวด 1 ม้วน ที่มีน้ำหนักจำนวนหนึ่งจะมีความยาวเส้นลวดเท่าใด หรือ เส้นลวดเหล็ก 1 เมตรนี่มีน้ำหนักกี่กรัม ?? หากตอบแบบกำปั้นทุบดิน ก็คงต้องตอบว่า ก็ดึงลวดจากม้วนมาวัดความยาวสิ หรือ ก็เอาเส้นลวดไปชั่งดูสิ ใช่ครับ มันก็พอทำได้ถ้าปริมาณน้อย แต่ถ้าเป็นม้วนลวดขนาด 15 กิโลกรัม หรือลวดยาวสัก 1000 เมตร ก็คงทำการวัดหรือชั่งน้ำหนักได้ยาก เอาละ .. เพื่อความเป็นมืออาชีพ เรามาใช้หลักการทางวิศวกรรม หาคำตอบกันดีกว่าครับ ….. หลักการก็มีอยู่ว่า เราจะใช้ความหนาแน่นของวัสดุ (Density) มาใช้ในการคำนวณหาครับ โดยค่าความหนาแน่นของวัสดุคืออัตราส่วนระหว่างมวลต่อปริมาตรของวัสดุนั้น ๆ เขียนเป็นสมการได้คือ จากสมการ จะเห็นได้ว่า การที่จะหาน้ำหนักของวัสดุได้นั้น จำเป็นจะต้องทราบตัวแปรสำคัญสองตัวคือ ความหนาแน่นและปริมาตรของวัสดุก่อน โดยที่ปริมาตรของวัสดุก็จะคำนวณจากรูปทรงสัณฐานของวัสดุนั้น เช่นทรงกระบอก ทรงกลม […]

– ลวดเซาะร่องแบบ แอร์-คาร์บอนอาร์ค ใช้เซาะแนวเชื่อมสแตนเลสได้หรือไม่
ในการเชื่อมโลหะ บางครั้งตรวจพบว่าในแนวเชื่อมมีจุดบกพร่อง จำเป็นต้องมีการเซาะแนวเชื่อมนั้นออกเพื่อเชื่อมซ่อม การใช้ลวดเซาะแบบแอร์-คาร์บอนอาร์ค เป็นวิธีการทำงานที่รวดเร็ววิธีหนึ่ง ที่ใช้บ่อยในงานเชื่อมประกอบโลหะกลุ่มเหล็ก ประเด็นข้อสงสัยคือ สามารถใช้วิธีการเซาะแนวเชื่อมแบบแอร์-คาร์บอนอาร์คนี้ กับการเชื่อมสแตนเลสได้หรือไม่ ? หากเรารู้จักกระบวนการเซาะแนวเชื่อมแบบนี้ดี จะทราบว่าสิ่งสำคัญและขาดเสียมิได้เลยของการเซาะด้วยวิธีแอร์-คาร์บอนอาร์คนั้น คือแท่งลวดเซาะที่ทำจากผงคาร์บอนอัดนั่นเอง ทีนี้ลองย้อนนึกกลับไปครับว่า คาร์บอนมีอิทธิพลอย่างไรต่อโลหะ ? การเซาะแนวเชื่อมออกด้วยวิธีแอร์-คาร์บอนอาร์คนี้ ใช้การอาร์คระหว่างแท่งคาร์บอนกับชิ้นงาน เมื่อบริเวณจุดที่ทำการอาร์คหลอมละลาย ก็ใช้อากาศอัดเป่าโลหะที่หลอมเหลวออกไป แต่ในระหว่างที่ลวดเซาะอาร์คกับชิ้นงานก็จะเกิดการตกค้างของคาร์บอนส่วนหนึ่งบริเวณรอยเซาะ หมายความว่ารอยเซาะมีการเพิ่มปริมาณคาร์บอนที่ผิวให้มากกว่าเดิม ซึ่งการเพิ่มปริมาณคาร์บอนบนผิวโลหะคือการทำคาร์บูไรซิ่ง (Carburizing) หรือการทำให้ผิวโลหะแข็งขึ้นโดยการเติมคาร์บอนนั่นเอง นี่คือประเด็นครับ จริงๆ แล้วธาตุคาร์บอนนั้นเป็นธาตุที่ต้องจำกัดปริมาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมสแตนเลส (จึงต้องมีลวดเชื่อมทีมีรหัส L ไงครับ เช่น 308L, 316L) เพราะคาร์บอนจะเป็นตัวจับโครเมี่ยมในเนื้อสแตนเลส เพื่อให้เป็นโครเมี่ยมคาร์ไบด์ (Cr23C6) จะเห็นว่าคาร์บอน 6 อะตอม สามารถรวมตัวกับโครเมี่ยมได้ถึง 23 อะตอมเลยทีเดียว ทีนี้ เมื่อทำการเซาะแนวเชื่อมสแตนเลสด้วยวิธีแอร์-คาร์บอนอาร์ค จะทำให้บริเวณที่เซาะนั้นเกิดการปนเปื้อนของคาร์บอน เมื่อทำการเชื่อมซ่อมต่อไปก็จะเกิดการตกผลึกของโครเมี่ยมคาร์ไบด์ในบริเวณนั้น ทำให้บริเวณที่ทำการเซาะแต่เดิมนั้นขาดคุณสมบัติการเป็นสแตนเลส เนื่องจากปริมาณโครเมี่ยมเหลือน้อย […]

– จะเชื่อมท่อแสตนเลส 304L ติดกับท่อสแตนเลส 316L จะใช้ลวดเชื่อมเกรดไหนดี ระหว่าง 308L กับ 316L
สองสามวันก่อนผมมีคำถามจากเพื่อนนักเรียนเก่า เกี่ยวกับการเชื่อมโลหะสแตนเลส เรื่องมีอยู่ว่าเพื่อนผมมีงานที่จะต้องเชื่อมซ่อมท่อน้ำยาเคมี ซึ่งมีความกัดกร่อน แต่เดิมท่อนี้ทำจากสแตนเลสเกรด 316L แต่เนื่องจากไม่สามารถหาท่อสแตนเลส เกรด 316L ได้ จำเป็นต้องใช้ท่อสแตนเลสเกรด 304L มา เชื่อมซ่อมไปก่อน จึงต้องการทราบว่าควรจะใช้ลวดเชื่อมเกรดใด ระหว่างลวดเชื่อม 308L หรือ ลวดเชื่อม 316L เป็นคำถามที่น่าสนใจดีนะครับ โดยทั่วไป โลหะสแตนเลสกลุ่ม 304L นั้น หากอ้างอิงตามหลักการและมาตรฐานแล้วนั้น จะมีลวดเชื่อมให้เลือกใช้คือเกรด 308 หรือ 308L ส่วนโลหะสแตนเลสกลุ่ม 316L นั้น ตามมาตรฐานก็จะให้ใช้ลวดเชื่อมเกรด 316 หรือ 316L เพราะโดยปกติพื้นฐานแล้ว ลวดเชื่อมที่จะนำมาเชื่อมกับโลหะใดๆ นั้น ก็ควรจะมีส่วนผสมทางเคมีและคุณสมบัติทางเชิงกลใกล้เคียงหรือดีกว่าโลหะที่ต้องการเชื่อม แต่ในกรณีนี้ โลหะสองชิ้น ถึงแม้ว่าเป็นโลหะสแตนเลสเหมือนกัน แต่ต่างเบอร์กัน จึงถือว่าชิ้นงานทั้งสองชิ้นนั้นมีส่วนผสมทางเคมีที่ต่างกัน ประเด็นคือจะเลือกใช้ลวดเชื่อมที่อิงกับสแตนเลสที่เป็นชิ้นงานฝั่งใดดี ระหว่าง 304L กับ […]

– การซ่อมชิ้นงานเหล็กกล้า AISI 4140 ด้วยกรรมวิธีการเชื่อมประสาน
บ่อยครั้ง ที่ทีมงานมีคำถามมาจากผู้ใช้ เรื่องงานเชื่อมซ่อมบำรุง เป็นต้นว่า ผมต้องการเชื่อมซ่อมเพลาที่ทำจากเหล็กเกรดพิเศษ จะใช้ลวดเชื่อมอะไรดี คำว่า “การเชื่อมซ่อม” นั้น ช่างเป็นคำพูดที่ฟังดูเรียบง่ายเสียกระไร แต่ในความเป็นจริงนั้น “การเชื่อมซ่อม” นั้นมีเทคนิคหรือกรรมวิธีที่ซับซ้อนมากมาย และเป็นคำถามที่ไม่สามารถตอบได้ในทันที โดยปราศจากการสอบถามถึงลักษณะงานและสภาวะการใช้งานของงานนั้นๆ เสียก่อน บางครั้ง ถึงกับมีความจำเป็นที่จะต้องไปดูลักษณะการทำงานที่แท้จริงเลยทีเดียว จึงจะสามารถวิเคราะห์ปัญหาและวิธีการเชื่อมซ่อมบำรุงที่ถูกต้องได้ ยกตัวอย่างคำถามที่ว่า “เมื่อช่างซ่อมต้องการเชื่อมซ่อมบำรุงเพลาที่ทำจากเหล็กกล้า 4140” หรือ “ ผมต้องการเชื่อมเหล็กกล้า 4140 ติดกับท่อเหล็ก SS400” หรือ “ผมต้องการเชื่อมซ่อมรอยแตกร้าวที่อยู่บนแผ่นเหล็ก 4140” ผมจะใช้ลวดเชื่อมอะไรดี นี่เป็นตัวอย่างคำถามที่พบได้เสมอ จากที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น คำว่าการเชื่อมซ่อม “เป็นคำถามที่ไม่สามารถตอบได้ในทันที โดยปราศจากการสอบถามถึงลักษณะงานและสภาวะการใช้งานของงานนั้นๆ เสียก่อน” จากตัวอย่างคำถาม เราจะทำการ “เชื่อมซ่อม” มันหมายความว่าอย่างไรหรือ?? เพลามันสึกหรอ และต้องการเชื่อมเสริมเนื้อของเพลาในบริเวณที่มันสึก หรือ มันหักกลาง แล้วต้องการเชื่อมชิ้นส่วนที่หักนั้นเข้าด้วยกัน คำถามเหล่านี้ เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณาสำหรับการเชื่อมซ่อมบำรุงและการเลือกใช้ลวดเชื่อม […]