♦ การเชื่อมอาร์คโดยใช้อิเลคโตรดหุ้มฟลักซ์ (SMAW)
SMAW เป็นกระบวนการเชื่อมโดยการอาร์ค ซึ่งจะหลอมโลหะเข้าด้วยกันโดยใช้ความร้อนที่เกิดจากการอาร์คทางไฟฟ้าระหว่างปลายของอิเลคโตรดกับผิวหน้าของชิ้นงาน
หลักการทำงาน
SMAW นิยมใช้กันมากในงานเชื่อมโลหะ ซึ่งจะใช้ความร้อนที่เกิดจากการอาร์คระหว่างปลายอิเลคโตรดกับชิ้นงานในการหลอมเหลวโลหะ โดยที่วงจรไฟฟ้าประกอบด้วยแหล่งจ่ายไฟ, สายไฟ, ตัวจับอิเลคโตรด จุดต่อกับชิ้นงาน, ชิ้นงานและอิเลคโตรด โดยที่ปลายของสายไฟด้านหนึ่งต่อกับชิ้นงาน อีกด้านหนึ่งต่อกับหัวจับอิเลคโตรด ดังแสดงในรูปที่ 1
รูปที่ 1. วงจรไฟฟ้าของ SMAW
(source: http://deltaschooloftrades.com/stick%20welding.htm)
ในขณะที่มีการอาร์คเกิดขึ้นจะมีความร้อนสูงเกิดที่ปลายของอิเลคโตรคและผิวของชิ้นงาน ซึ่งโลหะเม็ดเล็กๆ ที่ปลายของอิเลคโตรค จะหลอมเหลวและไหลไปยังบ่อหลอมโลหะ (weld pool) ที่หลอมเหลวในชิ้นงานซึ่งอุณหภูมิที่สูงที่สุดของการอาร์คดังกล่าวมีค่าประมาณ 5000 oC นอกจากกระบวนการจะต้องการกระแสไฟฟ้าที่มีค่าสูงเพียงพอที่จะทำการหลอมเหลวอิเลคโตรดและชิ้นงานเข้าด้วยกันแล้วยังต้องมีระยะห่างระหว่างปลายอิเลคโตรดกับบ่อหลอมโลหะที่เหมาะสมด้วย ซึ่งขนาดของอิเลคโตรคจะถูกกำหนดด้วยแรงดันไฟฟ้าสำหรับการอาร์ค โดยทั่วไปจะอยู่ในช่วง 16-40 V และค่ากระแสไฟฟ้า 20-550 A ซึ่งอาจใช้กระแสตรง (DC)) หรือกระแสสลับ (AC) ก็ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของอิเลคโตรดที่ใช้
อิเลคโตรคที่มีการเคลือบ (Covered electrode)
หน้าที่ของสารที่เคลือบอิเลคโตรคมีดังนี้
- เพื่อทำให้เกิดแก๊สปกคลุมบริเวณที่เกิดการอาร์ค เพื่อป้องกันการทำปฏิกิริยาของโลหะที่เติมเข้าไปกับบรรยากาศ
- เพื่อทำความสะอาดบริเวณที่หลอมเหลวเพื่อป้องกันไม่ให้เม็ดของโลหะมีขนาดใหญ่เกินไป
- เพื่อช่วยให้อิเลคโตรดนำไฟฟ้าได้ดีขึ้น
- เพื่อห่อ slag ไม่ให้รวมตัวกับโลหะที่หลอมเหลว
- เพื่อเติมโลหะบางชนิดเข้าไปช่วยเพิ่มคุณสมบัติทางกายภายของโลหะ
หน้าที่ข้อที่ 1-4 เพื่อให้โลหะที่เติมเข้าไปทำหน้าที่ป้องกันการรวมตัวกับโลหะที่หลอมเหลวกับออกซิเจนและไนโตรเจนในอากาศ ในการเคลือบผิวนั้นจะใช้วิธีการจุ่มเคลือบหรืออัดออกมาเป็นแท่ง แต่จะนิยมใช้การอัดออกมาเป็นแท่งมากกว่า โดยส่วนใหญ่แกนของอิเลคโตรคจะผลิตจากผงโลหะหลายชนิด
การปกคลุมบริเวณที่เกิดการอาร์ค
การปกคลุมบริเวณที่เกิดการอาร์ค แสดงในรูปที่ 2 กระบวนการนี้จะทำให้สารที่เคลือบผิวเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส โดยใช้ความร้อนที่เกิดจากการอาร์ค และจะมี slag เกิดขึ้นซึ่งจะขึ้นกับชนิดของอิเลคโตรดที่ใช้ โดยถ้าหากมีการเคลือบผิวที่หนาจะใช้กระแสไฟฟ้ามากและมีอัตราการสิ้นเปลืองสูงกว่าแบบเคลือบผิวบาง แต่จะให้อุณหภูมิในการอาร์คสูงกว่าแบบเคลือบผิวบาง
ความสามารถและข้อจำกัดของกระบวนการ
ข้อดีของกระบวนการ SMAW ได้แก่
- อุปกรณ์มีราคาถูก, โครงสร้างไม่ซับซ้อนและเคลื่อนย้ายง่าย
- สามารถใช้อิเลคโตรค ชนิดที่มีการเคลือบในการเติมเนื้อโลหะและป้องกันการเกิดออกซิไดซ์ ในระหว่างการเชื่อม
- ไม่จำเป็นต้องใช้แก๊สช่วยและ flux
- ลมที่พัดผ่านบริเวณที่ทำการเชื่อมมีผลไม่มากเมื่อเทียบกับ GSAW
- สามารถใช้ได้ในพื้นที่จำกัด
- ใช้ได้กับโลหะหลายชนิด
- อิเลคโตรคชนิด SMAW สามารถใช้กับงานเชื่อมโลหะผสมต่ำ, เหล็กหล่อ, ทองแดง, นิกเกิ้ลและอลูมิเนียมบางประเภท
- โลหะที่มีการหลอมเหลวต่ำ เช่น ตะกั่ว , ดีบุก, และสังกะสี ไม่เหมาะกับการใช้งาน SMAW เนื่องจากค่าความร้อนที่เกิดจากการอาร์คมีค่าสูง
- SMAW ไม่เหมาะกับโลหะประเภท Titanium, Zirconiom, Tantalum, และ Columbinum เนื่องจากสารที่เคลือบผิวของมีปริมาณไม่เพียงพอที่จะป้องกันออกซิเจนทำปฏิกิริยากับโลหะได้
ค่าความยาวของอิเลคโตรคที่เคลือบจะอยู่ที่ 9-18 นิ้ว ในขณะที่การอาร์คเริ่มเกิดขึ้นจะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านอิเลคโตรด ดังนั้นถ้าหากกระแสมีค่ามากเกินไปจะทำให้อิเลคโตรดร้อนจัดและสารเคลือบผิวเกิดการแตกเสียหาย
รูปที่ 2. บริเวณที่เกิดการเชื่อม SMAW (source: Wikimedia)
อุปกรณ์ที่ใช้แหล่งจ่ายไฟ
ชนิดของกระแสที่ใช้สามารถใช้ได้ทั้ง DC และ AC แต่จะมีผลต่อประสิทธิภาพของอิเลคโตรค โดยการใช้กระแสแต่ละชนิดจะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งจะต้องพิจารณาเลือกใช้ให้ถูกต้อง โดยมีปัจจัยที่ต้องพิจารณาดังนี้
- แรงดันตก AC จะมีแรงดันตกน้อยกว่า DC ดังนั้นเหมาะกับงานเชื่อมชิ้นงานที่อยู่ห่างจากแหล่งจ่าย ไฟมาก
- กระแส อิเลคโตรคที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยจะใช้กระแสต่ำกว่า นอกจากนั้นยังทำให้การอาร์คสม่ำเสมอกว่า
- การอาร์คเริ่มต้น DC จะให้การอาร์คเริ่มต้นง่ายกว่า โดยเฉพาะถ้าใช้อิเลคโตรคที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็ก ในขณะที่ AC จะมีค่ากระแสเป็นศูนย์ทุก ๆ ครึ่งรอบ ซึ่งจะเกิดปัญหาในการเริ่มต้นอาร์ค
- ความยาวในการอาร์ค การเชื่อมด้วยการอาร์คที่สั้น(แรงดันในการอาร์คต่ำ) จะเกิดเมื่อใช้ DC ง่ายกว่าแบบ AC ยกเว้นแต่ว่าจะใช้อิเลคโตรดที่มีเหล็กผสมอยู่มาก
- Arc Blow AC จะเกิดปัญหาน้อยกว่าแบบ DC เนื่องจากสนามแม่เหล็กมีค่าคงที่กว่า
- ตำแหน่งในการเชื่อม DC ดีกว่า AC เนื่องจากกระแสต่ำกว่าเหมาะสมกว่าจะใช้เชื่อมในแนวดิ่ง
ความหนาของโลหะ
จะใช้ DC ในการเชื่อมโลหะที่หนา มากกว่าที่จะใช้ AC เนื่องจากกระแสของ DC สูงกว่าแหล่งจ่ายไฟสำหรับ SMAW จะเป็นแบบชนิดกระแสคงที่มากกว่าแบบแรงดันคงที่ เนื่องจากผู้ใช้สามารถรักษาระยะความยาวในการอาร์คได้ดีกว่า
ลักษณะของเส้นโค้ง กระแสแรงดัน
สำหรับแหล่งจ่ายไฟทั้งชนิด DC และ AC แหล่งจ่ายไฟแยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือชนิดกระแสคงที่และชนิดแรงดันคงที่ แหล่งจ่ายไฟแรงดันคงที่ไม่เหมาะสมกับ SMAW เนื่องจากสามารถเปลี่ยนแปลงค่าความยาวในการอาร์คได้น้อยเมื่อค่ากระแสมีค่าเปลี่ยนไป เรานิยมใช้แบบกระแสคงที่มากกว่าเนื่องจากค่าความชันมีค่ามากกว่า นั่นคือ เมื่อแรงดันเปลี่ยนแปลงมากแต่กระแสจะเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก ในรูปที่ 3 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าแรงดัน-กระแส ทั้ง 2 ประเภท
รูปที่ 3 แสดงค่าแรงดัน-กระแส (แรงดันคงที่ , กระแสคงที่ )
(source : www.thefabricator.com)
สำหรับการใช้งานอิเลคโตรคที่มี Diameter ใหญ่ และใช้กระแสในการเชื่อมมาก จะนิยมใช้กราฟที่มีความชันมากกว่า งานที่ต้องการความแม่นยำสูง ๆ จะนิยมใช้กราฟที่ความชันต่ำ
แรงดันเปิดวงจร (Open Circuit Voltage) คือค่าแรงดันที่สามารถผลิตได้เมื่อไม่มีการเชื่อม ซึ่งโดยทั่วไปจะมีค่าอยู่ระหว่าง 50–100 V และในขณะที่แรงดันในขณะทำการอาร์คจะอยู่ระหว่าง 17–40 V ค่าความยาวในการอาร์คและชนิดของอิเลคโตรดจะเป็นตัวกำหนดขนาดของแรงดันในการอาร์ค กล่าวคือ ถ้าความยาวในการอาร์คมากขึ้น จะทำให้แรงดันในการอาร์คสูงขึ้นและกระแสในการอาร์คลดลง
การเลือกชนิดของแหล่งจ่ายไฟ มีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารราสำหรับ SMAW ดังนี้
- ชนิดของกระแสที่ใช้
- ช่วงกระแสที่ต้องการ
- ตำแหน่งในการเชื่อม
- ชนิดของแหล่งจ่ายที่มีอยู่ในพื้นที่ใช้งาน
อุปกรณ์ประกอบ
- ด้ามจับอิเลคโตรค จะทำหน้าที่ยึดอิเลคโตรค เพื่อให้ผู้ใช้งานถือและควบคุมอิเลคโตรค และเป็นตัว นำกระแสจากสายไฟเข้าสู่อิเลคโตรค ปลายของตัวจับอิเลคโตรคต้องสามารถยึดอิเลคโตรคได้อย่างแน่นหนาเพื่อให้สามารถนำไฟฟ้าได้ดี ในขณะที่บริเวณที่ใช้มือจับต้องถูกหุ้มด้วยฉนวนไฟฟ้า เพื่อป้องกันการลัดวงจรเข้าสู่ชิ้นงาน ขนาดของตัวจับจะถูกผลิตตามพิกัดของค่าเส้นผ่านศูนย์กลางของอิเลคโตรค
การเชื่อมต่อของชิ้นงาน
อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกับชิ้นงานต้องสามารถยึดชิ้นงานได้อย่างแน่นหนา สำหรับงานเบาจะใช้ Clamp ที่ภายในใช้สปริงดัน แต่ถ้าเป็นงานหนักที่มีกระแสสูงจะใช้ Clamp แบบสกรู ขันยึดกับตัวชิ้นงาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนสูงที่จุดต่อเชื่อม
- สายไฟ สายไฟจะประกอบด้วยลวดทองแดงเส้นเล็กหรืออลูมิเนียมพันเข้าด้วยกันและหุ้มด้วยฉนวนที่มียึดหยุ่นได้ และฉนวนต้องมีค่าความต้านทานสูง ทนความร้อนได้ดี ขนาดของสายไฟถูกออกแบบเพื่อรองรับค่ากระแสที่ขนาดต่าง ๆ ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 (source : www.delcowire.com)
Total circuit length includes both welding and ground leads (based on 4 Volt drop) 60% duty cycle.
ในการเลือกขนาดสายไฟจะมีตัวแปรที่ต้องนำมาใช้เลือกได้แก่ กระแสสูงสุดที่จะใช้ในการเชื่อม, ความยาวสายไฟทั้งหมดของวงจรและค่า Duty Cycle
- หมวก มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการป้องกันสายตา, ใบหน้า, คอ จากรังสีในขณะทำการเชื่อมและจากการกระเด็นของโลหะ หมวกบางประเภทสามารถพับแว่นตากันแสงได้เพื่อสะดวกในการตรวจสอบชิ้นงาน วัสดุที่ใช้ส่วนใหญ่ทำจากไฟเบอร์กลาส ซึ่งมีน้ำหนักเบาสะดวกต่อการใช้งาน
อุปกรณ์ประกอบอื่นๆ
สิ่งสำคัญสำหรับงานเชื่อมคือ ความสะอาด ดังนั้นควรมีการทำความสะอาดให้เรียบร้อยก่อนการเชื่อมโดยใช้ แปรงลวด , ฆ้อน, สิ่ว ในกรณีที่ทำการเชื่อมควรมีการเสริมแผ่นด้านหลังเพื่อช่วยให้แนวเชื่อมได้ Alignment
วัสดุ (materials)
- โลหะที่ใช้เชื่อม (Base Metals) ในงานเชื่อมเราควรจะทราบชนิดของโลหะที่จะเชื่อมและเลือกอิเลคโตรคที่มีส่วนผสมพื้นฐานตรงกับโลหะที่จะเชื่อม โดยอิเลคโตรคจะมีโลหะพื้นฐาน ดังนี้
- โลหะคาร์บอน(Carbon Steel)
- โลหะผสมต่ำ (Low Alley Steel)
- โลหะที่ต้านทานการกัดกร่อน
- เหล็กหล่อ
- อลูมิเนียมและอลูมิเนียมอัลลอยด์
- Copper และ Copper Alley
- Nikel และ Nikel alloy
อิเลคโตรทที่มีการเคลือบผิว
มีการระบุคุณสมบัติโดย AWS โดยใช้รหัสดังตารางที่ 2 ซึ่งชนิดของอิเลคโตรคจะถูกกำหนดโดยส่วนส่วนผสมและคุณสมบัติทางกายภาพ
ตารางที่ 2 ชนิดของอิเลคโตรด
(source : www.angelfire.com/ar/bismaka/electrode.html)
การเก็บรักษาอิเลคโตรค
อิเลคโตรคที่ใช้ในกระบวนการ SMAW มีคุณสมบัติง่ายต่อการดูดซับและกักเก็บความชื้นซึ่งจะทำให้ออกซิเจนและไฮโดรเจนเกิดการแยกตัวออกจากกันในระหว่างการเชื่อม โดยที่อะตอมของไฮโดรเจนจะละลายในบริเวณ Heat Affect Zone และจะทำให้เกิดการแตกร้าวในขณะเย็นตัว นอกจากนั้นความชื้นที่เกิดที่ผิวของสารเคลือบจะทำให้เกิดโพรงอากาศในเนื้อเหล็กที่เชื่อม เพื่อที่จะลดปัญหาด้านความชื้นควรมีการเก็บรักษาอิเลคโตรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอิเลคโตรคที่มีไฮโดรเจนต่ำ ควรมีการเก็บรักษาในเตาที่มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 65 – 150 oC เพื่อไล่ความชื้นออก นอกจากนั้นควรปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิต นอกจากนั้นถ้าหากเก็บไว้ในที่ที่มีความร้อนสูงเกินไปอาจทำให้สารเคลือบผิวเสียหายได้
การใช้งาน
- วัสดุที่ใช้งานได้ SMAW สามารถใช้ในการเชื่อมโลหะโดยทั่วไปและโลหะผสม ยกเว้นโลหะดังต่อไปนี้ Ti , Zr, Cb,Ta, Mo
- ความหนา SMAW จะถูกใช้ตัดที่ความหนาอยู่ระหว่าง 3 – 38 MM ยกเว้นที่มีรูปร่างพิเศษที่จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรเชื่อมซึ่งจะสามารถเชื่อมวัสดุได้หนาถึง 250 mm
ตำแหน่งของชิ้นงานในการเชื่อม
หนึ่งในข้อดีของ SMAW คือสามารถเชื่อมได้หลายทิศทางในวัสดุหลายประเภท โดยวัสดุที่ถูกเชื่อมไม่จำเป็นต้องถูกวางในแนวราบ ซึ่งงานลักษณะนี้ไม่จำเป็นต้องใช้คนที่มีทักษะมากนักและอิเลคโตรคที่มีขนาดใหญ่ สำหรับการเชื่อมในแนวดิ่งและการเชื่อมแบบเหนือศรีษะ(Overhead) จำเป็นจะต้องใช้คนที่มีทักษะสูงขึ้นและใช้อิเลคโตรคที่มีขนาดเล็กลง นอกจากนั้นรูปแบบของรอยเชื่อมอาจมีลักษณะที่แตกต่างจากการเชื่อมในแนบราบ
สถานที่ในการเชื่อม
อุปกรณ์สำหรับ SMAW ถูกออกแบบมาให้สามารถนำไปใช้ในสถานที่ทำงานได้หลายลักษณะ เช่น ภายในอาคาร,ถูกออกแบบมาให้สามารถนำไปใช้ในสถานที่ทำงานได้หลายลักษณะ เช่น ภายในอาคาร,ภายนอกอาคาร,บนเรือ และอื่นๆ เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้แก๊สหรือสายน้ำ จะใช้ก็เพียงแต่สายไฟเท่านั้น แต่ในกรณีที่ไม่มีแหล่งจ่ายไฟอาจจะใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อจ่ายไฟให้อุปกรณ์
การออกแบบและเตรียมรอยเชื่อม
ชนิดของรอยเชื่อม ในการเลือกออกแบบรอยเชื่อมจะต้องคำนึงถึงเรื่องความแข็งแรงเป็นหลัก นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงสภาพการใช้งานและอุณหภูมิที่ใช้งานของชิ้นงานด้วย ซึ่งถ้าหากภาระที่ชิ้นงานได้รับเป็น Dynamic Load จะทำให้ลักษณะของรอยเชื่อมที่ใช้มีค่าแตกต่างจาก Satic Load มากทีเดียว
ในกรณีที่เป็น Dynamic Load จำเป็นจะต้องพิจารณาถึงความล้าและต้องมีความสามารถทนต่อการแตกหักได้ ซึ่งรอยต่อที่ใช้จะต้องถูกออกแบบให้เกิดชุมนุมความเค้นน้อยที่สุด นอกจากนั้นยังต้องออกแบบให้สามารถลดความเค้นตกค้างให้เหลือน้อยที่สุด และยังต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการเชื่อมและความยากในการปฏิบัติงานด้วยในการออกแบบรอยต่อในลักษณะต่าง ๆ จะมีผลต่อความแข็งแรงดังจะกล่าวต่อไปดังนี้
- การต่อเชื่อมที่มีร่อง(Groove Welds)
- การต่อเชื่อมที่มีร่องมีหลายลักษณะซึ่งในการจะเลือกใช้แบบใดนั้นจะมีข้อควรคำนึงถึงดังต่อไปนี้
- ความเหมาะสมต่อโครงสร้างที่ใช้งาน
- ความยากง่ายในการเข้าไปเชื่อม
- ค่าใช้จ่าย
- ตำแหน่งที่จะใช้งาน
การต่อเชื่อมแบบร่องสี่เหลี่ยม(Square Groove) จะมีค่าใช้จ่ายในการสร้างน้อยที่สุด แต่จะมีข้อจำกัดที่ความหนาของโลหะและความแข็งแรงที่จะสามารถรองรับได้ สำหรับกระบวนการ SMAW จะใช้การต่อเชื่อมแบบนี้ที่ความหนา ไม่เกิน 6 MM นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับประเภทของวัสดุที่ต่อด้วย ในกรณีที่ต้องการต่อกับแผ่นโลหะที่มีความหนามากขึ้น ควรมีการปรับสภาพของขอบของแผ่นโลหะเพื่อให้สามารถเพิ่มเนื้อที่ให้กับโลหะที่ได้ถูกเติมเข้าไปในการเชื่อม
เพื่อที่จะให้เกิดความประหยัดละยังสามารถลดการบิดตัวและความดันตกค้างสามารถออกแบบโดยให้ผิวของโลหะส่วนที่จะเชื่อมกันมีลักษณะเป็นร่องตัว V ซึ่งจะทำให้มีความแข็งแรงมากขึ้นโดยที่ใช้โลหะที่เติมเข้าไปน้อยที่สุด ปัจจัยที่จะทำให้รอยต่อมีความแข็งแรงนั่นคือความสามารถในการแทรกเข้าไปในบริเวณผิวหน้าของโลหะที่สองด้านนั่นเอง สำหรับแผ่นโลหะที่มีความหนามากๆจะใช้การต่อเชื่อมรูปตัว “J” และรูปตัว “U” ซึ่งจะช่วยลดปริมาณของเนื้อโลหะที่จะเติมเข้าไป แต่มุมของช่องว่างระหว่างแผ่นต้องมากเพียงพอที่จะป้องกันไม่ให้สะเก็ดไปสะสมอยู่ภายในร่อง
การต่อชนพิลเลท (Fillet Welds) การต่อลักษณะนี้แทบจะไม่ต้องมีการเตรียมพื้นผ้าในบริเวณที่จะต่อเชื่อมเลย และยังนิยมใช้ต่อรวมกับรอยต่อที่มีร่องเพื่อที่จะเพิ่มความแข็งแรงและลดจุดที่จะเกิดความดันสูง ๆ ในรอยต่อ
การเสริมด้านหลังรอยต่อ (Weld Backing) เนื่องจากช่องว่างระหว่างแผ่นโลหะที่จะทำการต่ออาจทำให้มีการสูญเสียเนื้อโลหะที่จะเติมเข้าไป ดังนั้นจำเป็นต้องมีการใช้วัสดุปิดที่ด้านหลังเพื่อป้องกันการสูญเสียเนื้อโลหะที่ถูกเติมเข้าไปซึ่งโดยทั่วไปนิยมใช้
- Backing Strip เป็นแผ่นโลหะบางๆ เชื่อมเข้ากับแผ่นโลหะที่จะทำการเชื่อมทั้ง 2 ด้าน โดยแผ่นดังกล่าวสามารถจะเอาออกหรือไม่ก็ได้ภายหลังจากที่เชื่อมเสร็จแล้ว ซึ่งจะขึ้นกับลักษณะการใช้งานของชิ้นงานที่ได้รับการเชื่อม แผ่นโลหะที่ใช้นี้ต้องเลือกใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันกับโลหะที่จะเชื่อมและอิเลคโตรคที่ใช้
- แท่งทองแดง (Copper Backing Bar) เนื่องจากคุณสมบัติของทองแดงที่มีค่าการนำความร้อนสูง ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้โลหะที่เติมเข้าไปรวมตัวกับแท่งทองแดง แต่แท่งทองแดงที่ใช้ควรมีความหนาเพียงพอที่จะไม่ทำให้เกิดการละลายระหว่างการเชื่อม
- วัสดุที่ไม่ใช่โลหะ (Nonmetallic Backing) จะใช้พวกวัสดุทนไฟ ซึ่งจะยึดติดกับชิ้นงานชิ้นงานโดยใช้ตัวหนีบ(Clamp) ซึ่งจะสะดวกต่อการใช้งาน
- การเชื่อมด้านหลัง (Backing Weld) วิธีนี้จะทำการเชื่อมที่บริเวณด้านล่างของช่องว่างที่จะเชื่อม จากนั้นจึงทำการเชื่อมด้านบนตามปกติ แต่มีข้อควรระวังคือ ขนาดของรอยเชื่อมด้านล่างต้องมีขนาดใหญ่เพียงพอที่สามารถรับแรงที่จะทำต่อชิ้นงานก่อนการเชื่อมได้
การวางแนวของชิ้นงาน (Alignment of Metal)
ในระหว่างเชื่อมควรมีการจับยึดชิ้นงานให้แน่นซึ่งอาจใช้ตัวหนีบเพื่อให้มีช่องว่างระหว่างแผ่นสม่ำเสมอ และมีขนาดได้ตามพิกัดที่ได้ออกแบบไว้หลังจากการเชื่อม
ลักษณะรูปร่างของรอยต่อเชื่อม
ขนาดรอยต่อเชื่อมประเภทต่าง ๆ ได้มีการแนะนำไว้ดังรูปที่ 4
รูปที่ 4. รอยเชื่อมชนิดต่างๆ (source : www.me.metu.edu.tr)
Runoff Tabs
ในการต่อเชื่อมที่มีร่องบางครั้งอาจมีการต่อแผ่นโลหะเสริมที่ปลายของชิ้นงานทั้ง 2 ด้าน ดังรูปที่ 5 ซึ่งจะมีข้อดีคือสามารถใช้แผ่นโลหะส่วนนี้เป็นจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดการเชื่อม เนื่องจากโดยมากจะเกิดการชำรุดที่รอยเชื่อมในบริเวณดังกล่าวซึ่งจะทำให้สามารถตัดช่วงดังกล่าวทิ้งไปได้
รูปที่ 5 Runoff Tabs (source : www.odysseyyachts.com)
การให้ความร้อนแก่ชิ้นงานช่วงเริ่มต้น(Preheating)
การให้ความร้อนแก่ชิ้นงานในช่วงเริ่มต้น(Preheating) ถูกใช้เพื่อปรับสภาพของชิ้นงานในบริเวณที่ทำการเชื่อมให้มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ ซึ่งผู้ใช้งานควรปฎิบัติตามข้อแนะนำที่ได้แนะนำไว้อย่างเคร่งครัด เนื่องจากการให้ความร้อนที่มากเกินไปจะก่อให้เกิดการสิ้นเปลืองพลังงานแล้วยังทำให้คุณสมบัติของโลหะและรอยเชื่อมแย่ลง โดยทั่วไปแล้วจะใช้วิธีการให้ความร้อนแก่ชิ้นงานในช่วงเริ่มต้นกับวัสดุที่มีค่าการนำความร้อนสูง เช่น ทองแดง , อลูมิเนียมอัลลอยด์, เพื่อช่วยลดกระแสในการเชื่อม , ปรับปรุงคุณสมบัติในการแทรกตัวของโลหะที่เติมเข้าไป และช่วยในการรวมตัวของโลหะเข้ากันได้ดีขึ้น
ตัวแปรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการเชื่อม
- ขนาดของอิเลคโตรค การเลือกขนาดของอิเลคโตรคจะขึ้นอยู่กับความหนาของโลหะ, ตำแหน่งที่ทำการเชื่อม, และชนิดของรอยต่อเชื่อม โดยทั่วๆ ไปมักจะเลือกให้มีขนาดใหญ่เมื่อจะใช้เชื่อมโลหะที่มีขนาดความหนามากขึ้น เนื่องจากจะมีอัตราการเติมของโลหะเข้าสู่ชิ้นงานที่สูงกว่า ในการเชื่อมนั้นจะทำให้โลหะที่หลอมเหลวไหลออกมาทางช่องว่างระหว่างชิ้นงานด้านล่าง ตามแรงโน้มถ่วงของโลกซึ่งเราสามารถจะลดปัญหาดังกล่าวได้โดยการใช้อิเลคโตรคที่มีขนาดเล็กลงและเพิ่มความเร็วในการเชื่อมให้มากขึ้น สำหรับการเชื่อมที่มีร่องนั้นจะใช้อิเลคโตรคที่มีขนาดเล็กเพื่อทำการเชื่อมในรอบแรกเพื่อให้โลหะที่หลอมสามารถไหลเข้าไปในช่องว่างได้สะดวก และลดการสูญเสียเนื้อโลหะที่เติมเข้าไป จากนั้นจะใช้อิเลคโตรคที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อเชื่อมในรอบถัดมา แต่ในการเลือกใช้ขนาดของอิเลคโตรคไม่ควรเลือกขนาดใหญ่เกินกว่าพิกัดกระแสของเครื่องที่จะจ่ายให้ได้ ซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองเนื้อโลหะมากขึ้นด้วย
- กระแสไฟฟ้าที่ใช้ในการเชื่อม ปริมาณของพลังงานที่ใช้จ่ายสำหรับการอาร์คจะมีตัวแปรที่เกี่ยวข้องคือ ชนิดของกระแสที่ใช้ ,ขั้วไฟฟ้าที่ต่อ(Polarity) , ส่วนผสมของสารเคลือบอิเลคโตรด ซึ่งพลังงานส่วนหนึ่งใช้ในการหลอมเหลวชิ้นงานและอีกส่วนหนึ่งใช้ในการหลอมเหลวอิเลคโตรด
- กระแสตรง โดยทั่วไปการใช้กระแสตรงจะทำให้การอาร์คที่สม่ำเสมอกว่าการใช้กระแสสลับ เนื่องจากไม่มีการสลับขั้วทางไฟฟ้า อิเลคโตรดส่วนใหญ่จะทำงานได้ดีกว่าเมื่อเราให้อิเลคโตรคเป็นขั้วบวก(Reverse Polarity) แม้ว่าอิเลคโตรดบางชนิดจะทำงานได้ดีเมื่อใช้อิเลคโตรคเป็นขั้วลบ(Straight Polarity) ข้อแตกต่างของการต่ออิเลคโตรดทั้ง 2 แบบคือ จะให้การแทรกซึมที่ดีกว่ากรณี Reverse Polarity แต่แบบ Straight Polarity จะให้อัตราการหลอมเหลวของอิเลคโตรดดีกว่า
- กระแสสลับ สำหรับกระบวนการ SMAW นั้น การใช้กระแสสลับมีข้อดี 2 ประการคือ
1. ไม่เกิด Arc Blow ทำให้สามารถใช้อิเลคโตรคที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีกระแสที่มากขึ้นได้
2. ค่าพลังงานต่ำกว่า เนื่องจากหม้อแปลงแบบ AC มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าแบบ DC นอกจากนั้นยังไม่ต้องแก้ไขอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถใช้ DCได้อีก
กระแส
การเลือกใช้ขนาดของอิเลคโตรคจะขึ้นอยู่กับพิกัดกระแสที่ใช้ โดยตัวแปรที่มีความสำคัญได้แก่ ความหนาและชนิดของสารที่ใช้เคลือบอิเลคโตรด โดยทั่วไปอัตราการสิ้นเปลืองอิเลคโตรดจะเพิ่มขึ้นเมื่อกระแสมีค่ามากขึ้น ดังนั้นควรมีการเลือกใช้ค่ากระแสในการเชื่อมให้เหมาะสมซึ่งจะขึ้นอยู่กับตัวแปรหลายตัว เช่น ตำแหน่งในการเชื่อมและชนิดของรอยต่อ
รูปที่ 6 ความสัมพันธ์ระหว่าง Deposit rates vs. Ampere (www.diggiemoon.com)
ความยาวในการอาร์ค (Arc Length)
ความยาวในการอาร์ค (Arc Length) คือระยะห่างจากปลายของอิเลคโตรคในขณะหลอมเหลวกับพื้นผิวของบ่อหลอมเหลว (Molten Weld Peal) ค่าของความยาวในการอาร์คที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับชนิดของอิเลคโตรด, ความโตและชนิดของสารเคลือบ, กระแสและตำแหน่งในการเชื่อม ค่าความยาวในการอาร์ค จะเพิ่มขึ้นเมื่อความโตและกระแสมีค่ามากขึ้น โดยทั่วๆ ไปค่าของความยาวในการอาร์คไม่ควรมีค่ามากกว่าขนาดความโตของแกนอิเลคโตรด การใช้ความยาวที่น้อยไปจะทำให้เกิดการลัดวงจร แต่ถ้าความยาวมากเกินไปจะทำให้โลหะที่วิ่งออกจากอิเลคโตรคไปสู่ชิ้นงานมีลักษณะกระจัดกระจายและเกิดโพรงอากาศและการปนเปื้อนของออกซิเจนหรือไนโตรเจนทำให้รอยเชื่อมรับแรงได้ไม่ดี
ความเร็วในการเชื่อม
ความเร็วในการเชื่อมจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่างดังนี้
- ชนิดและขนาดของกระแสและการต่อขั้วกับอิเลคโตรค
- ตำแหน่งในการเชื่อม
- อัตราการหลอมเหลวของอิเลคโตรค
- ความหนาของแผ่นโลหะ
- สภาพพื้นผิวของแผ่นโลหะ
- ชนิดของรอยต่อเชื่อม
- ความแน่นของรอยต่อเชื่อม
- การถ่ายเทโลหะจากอิเลคโตรดไปยังชิ้นงาน
ค่าความเร็วในการเชื่อมจะมีผลต่อความร้อนที่เข้าสู่ชิ้นงาน ซึ่งจะมีผลต่อโครงสร้างของโลหะที่ได้รับการเชื่อมและ Heat Affact Zone ถ้าความเร็วต่ำจะทำให้ Heat Affect Zone กว้างและชิ้นงานมีการเย็นตัวที่ลงช้า
ทิศทางของอิเลคโตรคกับชิ้นงาน
มีผลต่อคุณภาพของรอยเชื่อม ถ้าทิศทางไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดสะเก็ดในรอยเชื่อม, โพรงอากาศ,และเกิดการ Undercut ขึ้น ดังรูปที่ 7.
รูปที่ 7 UNDERCUT (source : www. raignheather.com , www.lyricsdog.eu)
การใช้ทิศทางที่เหมาะสมจะขึ้นกับขนาดและชนิดอิเลคโตรค, ตำแหน่งในการเชื่อมและลักษณะของรอยเชื่อม ในการระบุทิศทางของอิเลคโตรดจะขึ้นอยู่กับมุมที่ใช้ในการเคลื่อนที่ (Travel Angle) และมุมกับชิ้นงาน (Work Angle) ดังรูปที่ 8
รูปที่ 8 Travel angle vs. work angle
(source : http://deltaschooloftrades.com/stick%20essentials.htm )
Travel Angle คือมุมที่น้อยกว่า 90 o ระหว่างแกนของอิเลคโตรคกับเส้นที่ตั้งฉากกับแนวเชื่อม (บนระนาบที่ถูกกำหนดโดยแกนของอิเลคโตรคและแนวเชื่อม )
Work Angle คือมุมที่น้อยกว่า 90 o ระหว่างเส้นที่ตั้งฉากกับผิวของชิ้นงานและระบบที่ถูกกำหนดโดยแกนของอิเลคโตรดและแนวเชื่อม
ในการทำการเชื่อมจะมี 2 เทคนิคที่ใช้คือ Push Angle และ Drag angle ดังรูปที่ 9 ซึ่งถ้าหากชิ้นงานที่เชื่อมจากการวางแนวชองอิเลคโตรคถูกต้องจะทำให้มีการแทรกตัวเข้าชิ้นงานที่ดีและมีการรวมตัวกับโลหะชิ้นงานได้สมบูรณ์ ค่า Travel Angle ที่มากเกินไปจะทำให้รอยเชื่อมมีรูปร่างไม่ดี, การแทรกตัวไม่ดี ในขณะที่ค่า Travel Angle ที่น้อยเกินไปจะทำให้เกิด slag ในรอยเชื่อม ค่า Work Angle ที่มากเกินไปจะทำให้เกิดการ Undercut ในขณะที่ work angle ที่น้อยเกินไปจะทำให้การรวมตัวกันที่ไม่สมบูรณ์
รูปที่ 9 Push angle vs. Drag Angle (source : www.millerwelds.com )
การเชื่อมต่อชิ้นงาน
การเชื่อมต่อชิ้นงานอย่างถูกต้องมีความสำคัญต่อการเชื่อม SMAW โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้กระแสตรง ถ้าหากปลายของชิ้นงานต่อเชื่อมกันไม่เหมาะสมจะทำให้เกิด Arc Blow มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ควบคุมการอาร์คได้ยากขึ้น นอกจากนั้นวิธีในการทำให้ปลายของชิ้นงานสัมผัสกันก็มีความสำคัญถ้าการสัมผัสกันไม่ดีจะเกิดความร้อนสูงที่จุดสัมผัส ซึ่งจะทำให้มีการลัดวงจรไฟฟ้าขึ้น ดังนั้นได้มีการแนะนำให้ใช้แผ่นทองแดงกดชิ้นงานโดยใช้ C-Clamp จะเหมาะสมที่สุด
ความสม่ำเสมอในการอาร์ค(Arc Stability)
ความสม่ำเสมอในการอาร์ค(Arc Stability)จะทำให้คุณภาพของรอยเชื่อมมีคุณภาพที่ดี การอาร์คไม่สม่ำเสมอจะก่อให้เกิดการรวมตัวกันของโลหะที่ไม่ดี, เกิดสะเก็ดในรอยเชื่อม, เกิดโพรงอากาศในรอยเชื่อม
ปัจจัยที่จะมีผลต่อความสม่ำเสมอในการอาร์คมีดังนี้
- แรงดันเปิดวงจร
- ลักษณะ Transient Voltage Recovery ของแหล่งจ่ายไฟ
- ขนาดของเม็ดโลหะที่เติมเข้าไปในการเชื่อมและ slag จากการอาร์ค
- การแตกตัวในการอาร์คจากอิเลคโตรดไปยังชิ้นงาน
- การจัดการกับตัวอิเลคโตรคให้เหมาะสม
จากปัจจัยดังกล่าวจะเห็นว่า 2 ข้อแรกจะเกี่ยวกับการออกแบบแหล่งจ่ายไฟ และสองข้อถัดมาจะเกี่ยวข้องกับการทำงานของอิเลคโตรค ส่วนข้อสุดท้ายจะเกี่ยวกับทักษะของผู้ทำการเชื่อม
Arcblow
Arcblow จะเกิดขึ้นเมื่อทำการเชื่อมวัสดุที่เป็นเม่เหล็ก(เหล็กและนิกเกิ้ล) โดยใช้กระแสตรงและอาจจะพบได้สำหรับการเชื่อมโดยการใช้กระแสสลับในบางกรณี แต่จะเกิดได้ยากในกรณีที่เราเชื่อมโดยใช้กระแสตรงจะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านอิเลคโตรดและชิ้นงาน ซึ่งจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้นรอบ ๆ อิเลคโตรด ซึ่งจะทำให้การอาร์ควิ่งออกไปตามแนวด้านข้างของรอยเชื่อมทำให้รอยเชื่อมมีลักษณะไม่เป็นแนวตรงและเกิดการรวมตัวที่ไม่ดี
รูปที่ 10 การเกิด Arcblow (www.deltaschooloftrades.com)
ในการเชื่อมโลหะจะมีฟลักซ์แม่เหล็ก เกิดขึ้นทั้งบนแผ่นโลหะและช่องว่างบริเวณรอยเชื่อม ซึ่งจะทำให้สนามแม่เหล็กมีความเข้มไม่สม่ำเสมอในบริเวณดังกล่าวและทำให้การอาร์คมีการวิ่งเอียงออกไปจากแนวเชื่อมตรงบริเวณที่สนามแม่เหล็กมีความเข้มสูง ซึ่งปรากฎการณ์ที่จะเกิดบริเวณปลายของแผ่นโลหะที่เป็นแนวเชื่อม จากรูปที่ 11 Forward blow จะเกิดในตอนเริ่มต้นเชื่อม จากนั้นจะลดลงบริเวณภายในแผ่นโลหะเนื่องจากสนามแม่เหล็กมีลักษณะสม่ำเสมอและจะไปเกิด Back blow ที่อีกด้านหนึ่งของแผ่นโลหะ
รูปที่ 11 (source : www.weldreality.com)
เพื่อที่จะช่วยลดปัญหาการเกิด Arcblow สามารถทำได้ดังนี้
- ลดปริมาณกระแสที่ใช้
- ใช้ Runoff Tab ช่วยบริเวณปลายทั้ง 2
- เปลี่ยนไปใช้ AC ในกรณีกระแสสูงกว่า 250 A
- รักษาระยะระหว่างอิเลคโตรคกับชิ้นงานให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
- หุ้มสายไฟบริเวณรอบ ๆ ชิ้นงานเพื่อที่จะปรับทิศทางของสนามแม่เหล็ก
- ปรับทิศทางอิเลคโตรคช่วย
- เคลื่อนที่อิเลคโตรคเข้าสู่รอยต่อเพื่อลด Forward Blow เคลื่อนที่ออกจากรอยต่อเพื่อลด Back Blow
คุณภาพของรอยเชื่อม
คุณภาพของรอยเชื่อมจะเป็นตัวกำหนดความสามารถในการรองรับการใช้งานเช่น ความแข็งแรง, ความสามารถในการต้านทานการกัดกร่อน, ขนาดและรูปร่างที่ต้องการ ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับ วัสดุที่ใช้เชื่อมและสภาวะที่เกิดในระหว่างการเชื่อม นอกจากนั้นยังขึ้นกับความชำนาญของผู้ปฏิบัติงานด้วยโดยปกติแล้วรอยต่อของโลหะจะมีขนาดและชนิดที่แตกต่างกันไปในชิ้นงานซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาดังต่อไปนี้ในการเชื่อม
- โพรงอากาศ คือโพรงอากาศที่เกิดขึ้นในรอยเชื่อม ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีในขณะทำการเชื่อม ในการป้องกันการเกิดโพรงอากาศสามารถทำได้โดยใช้กระแสให้เหมาะสม รักษาระยะความยาวในการอาร์คให้ถูกต้องนอกจากนั้นควรใช้อิเลคโตรคที่แห้ง
- สารมลทินฝังใน (Slag Inclusion) Slag คือออกไซด์และของแข็งที่ไม่ใช่โลหะที่เกิดขึ้นในเนื้อโลหะตรงบริเวณรอยต่อของรอยเชื่อมกับชิ้นงาน , ผิวหน้าของรอยเชื่อม ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อรอยเชื่อมมีการแข็งตัวและเย็นตัวลง แต่ออกไซด์เหล่านี้มีค่าความถ่วงจำเพาะต่ำจึงลอยตัวอยู่ที่ผิวของรอยเชื่อมและภายในรอยเชื่อม โดยปกติ Slag จะเกิดจากสารเคลือบที่ใช้เคลือบอิเลคโตรด ในการป้องกันจะทำได้โดยทำการกำจัดสารมลทินที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบของรอยเชื่อมออกก่อนที่จะทำการเชื่อมในรอบถัดไปและการเตรียมรอยต่อที่ดี
- การหลอมละลายที่ไม่สมบูรณ์ (Incomplete Fusion) คือการที่รอยเชื่อมแต่ละแนวไม่หลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกันหรือรอยเชื่อมกับชิ้นงานไม่เป็นเนื้อเดียวกัน สาเหตุที่เกิดเนื่องจากการให้ความร้อนไม่สม่ำเสมอในขณะเชื่อมหรือมีออกไซด์เกิดขึ้นในขณะที่หลอมละลายในการป้องกันการเกิด จะทำได้โดย
- ใช้ความเร็วในการเชื่อมไม่สูงเกินไป
- ใช้กระแสไม่ต่ำเกินไป
- ไม่ใช้อิเลคโตรคที่มีขนาดใหญ่เกินไป
- ออกแบบ root surface ไม่ใหญ่เกินไป
- ช่องว่างระหว่างแผ่นโลหะที่รอยต่อไม่เล็กเกินไป
รอยกัดแหว่ง(Undercut)
เกิดจากการใช้กระแสไฟที่มากเกินไป รอยกัดแหว่งจะเกิดบริเวณรอยต่อของแนวเชื่อมกับชิ้นงาน ทั้งบริเวณด้านหน้าและด้านราก
รอยแตก(Cracks)
รอยแตกสามารถเกิดขึ้นในรอยเชื่อม, วัสดุ หรือ ทั้งสองตำแหน่ง ซึ่งรอยแตกแยกได้เป็น 2 ประเภทคือ
- รอยแตกร้อน(Hot Crack) เกิดจากการเย็นตัวลงที่ไม่สม่ำเสมอเนื่องจากจุดแข็งตัวของธาตุต่าง ๆ มีค่าแตกต่างกัน
- รอยแตกเย็น(Cold Crack) เกิดจากการที่ไฮโดรเจนที่เป็นส่วนผสมของสารเคลือบอิเลคโตรดสะสมอยู่ในเนื้อโลหะ ซึ่งจะทำให้ความเหนียวลดลงจนเปราะและเกิดรอยร้าวขึ้น รอยแตกเย็นจะเกิดหลังจากที่โลหะเย็นตัวแล้ว ในการป้องกันจะทำได้โดยใช้ลวดเชื่อมที่มีโฮโดรเจนต่ำและควรทำการ preheat ชิ้นงานก่อนทำการเชื่อม
การป้องกันการเกิด Hot Craching ทำได้โดย
- เปลี่ยนประเภทของชิ้นงาน
- เปลี่ยนประเภทของโลหะที่เติมในอิเลคโตรค
- ปรับปรุงการ preheat ชิ้นงานและลดกระแสในการเชื่อมลง
Source : weldind handbook eighth edition vol2 AWS