♦ ทังสเตนหัวแดง ร้ายแรงจริงหรือ.. ?
โดย ชัชชัย อินนุมาตร บจก.เทอร์มอล แมคคานิคส์ “………….บทความนี้จะไขปริศนาที่เจ้าทังสเตนสีแดงนี้ มีคำเล่าลือและโดนกล่าวหาว่า เป็นตัวการแผ่รังสีที่ทำให้เกิดมะเร็งนั้น จริงหรือไม่………… ” “พี่ครับ อย่าใช้ทังสเตนหัวแดงเลย … มันแผ่รังสี อันตรายนะครับ ….ใช้สีอื่นดีกว่า” “ทังสเตนสีแดง มีสารก่อมะเร็ง เปลี่ยนไปใช้สีอื่นดีกว่า” “ทังสเตนสีแดง เค้าห้ามใช้นะ มันอันตราย” …
การเลือกแว่นตาป้องกันแสงเลเซอร์ อย่างถูกต้องและเหมาะสม
บทความนี้จะบอกถึงวิธีคร่าวๆ เพื่อพิจารณาเลือกใช้แว่นตาป้องกันแสงเลเซอร์ เพื่อการใช้ในทำงานกับเลเซอร์ประเภทต่างๆ จริงหรือไม่ที่แสงเลเซอร์เป็นอันตรายกับดวงตาเรา แสงเลเซอร์ทุกชนิดมีโอกาสที่จะทำอันตรายกับดวงตาของเราแน่นอน เนื่องจากแสงเลเซอร์มีความเข้มของแสงที่ค่อนข้างมาก ดังนั้นมันจึงมีพลังงานมากกว่าแสงจากหลอดไฟที่ใช้กันหลายร้อยเท่า แม้ว่ามันจะดูว่าปลอดภัย อย่าง Laser pointer หรือปากกาเลเซอร์ที่ใช้ในการชี้ตำแหน่งต่างๆ ซึ่งใช้กันอยู่ทั่วไปก็สามารถทำอันตรายกับดวงตาเราได้ หากใช้ไม่ไม่ถูกต้อง ดังนั้นเลเซอร์ส่วนใหญ่ถ้าหากมีการใช้งานก็จะต้องมีการป้องกันดวงตาเสมอ เลเซอร์อินฟราเรดและยูวี มีลำแสงที่ทำงานเกินกว่าสเปกตรัมที่ตามนุษย์จะมองเห็นได้ นี่ถือว่าเป็นอันตรายอย่างมากเพราะมันอาจจะทำอันตรายกับดวงตาของคุณโดยไม่รู้ตัว กว่าจะรู้ก็สายไปเสียแล้ว แว่นตาป้องกันแสงเลเซอร์ปกป้องดวงตาเราได้อย่างไร แว่นตาเลเซอร์ใช้วิธีการลดทอนแสง โดยจะจำกัดปริมาณพลังงานแสงที่ผ่านเลนส์ เลนส์ของแว่นตาเลเซอร์อาจจะทำมาจากกระจกหรือพลาสติกก็ได้ ซึ่งเลนส์กระจกจะมีองค์ประกอบที่สามารถดูดซับพลังงานแสงได้ จึงสามารถป้องกันคลื่นแสงไม่ให้เข้าถึงดวงตาของเราได้ ส่วนเลนส์พลาสติกนั้นสามารถใส่สีสังเคราะห์เข้าไป เพื่อปิดกั้นการผ่านของแสงที่ความยาวคลื่นได้ในบางช่วงคลื่น ดังนั้นเลนส์พลาสติกจึงสามารถป้องกันแสงในความยาวคลื่นเฉพาะช่วงคลื่นแสงที่กำหนดได้ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงต้องรู้ว่าเราจะป้องกันตัวเองจากแสงเลซอร์ที่ความยาวคลื่นในช่วงใด จากการที่เลนส์พลาสติกสามารถใส่สีสังเคราะห์เพื่อป้องกันแสงได้นั้น เราจึงเห็นได้ว่าเลนส์กระจกจะมีความใสมากกว่าเลนส์พลาสติก สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาก่อนที่จะเลือกซื้อแว่นตาเลเซอร์ให้เหมาะสมกับชนิดของเลเซอร์ที่คุณใช้ – ปริมาณการลดทอนของแสงเลเซอร์ ในความยาวคลื่นใดๆ : เช่นแว่นตารุ่นนี้สามารถป้องกันหรือลดทอนแสงเลเซอร์ในช่วงความยาวคลื่นมีตั้งแต่รังสีอัลตราไวโอเลต (100-400 นาโนเมตร) ไปจนถึงคลื่นแสงช่วงที่มองเห็นได้ (440-750 นาโนเมตร) – เลเซอร์ที่ใช้งานเป็นลักษณะเป็นพัลส์หรือไม่ : ความสม่ำเสมอของแสงเลเซอร์,แสงเลเซอร์ที่ใช้งานออกมาแบบเดี่ยวๆหรือซ้ำๆ …
♦ แนวทางในการเลือกลวดเชื่อม สำหรับเชื่อมเหล็กกล้าผสมต่ำ เกรด 4140
Filler Metals Selection Guide for Welding 4140 Low–Alloy Steels โดย ชัชชัย อินนุมาตร ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ บจก. เทอร์มอล แมคคานิคส์ “…การเลือกลวดเชื่อมให้ตรงกับความแข็งแรงที่ต้องการในสภาวะกำหนดเป็นเรื่องที่ยาก บทความนี้จะให้แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด สำหรับการเลือกลวดเชื่อมที่เหมาะสมสำหรับการเชื่อมเหล็กกล้าผสมต่ำ เกรด 4140…” โลหะเหล็กกล้าผสมต่ำ เกรด 4140 (Low Alloy Steel 4140) รู้จักกันดีในตลาดค้าขายเหล็กในประเทศไทย ในนาม “เหล็กหัวฟ้า” เหล็กชนิดนี้หากอ้างอิงตามมาตรฐานสากลแล้ว จัดอยู่ในกลุ่มมาตรฐาน AISI 4140 ซึ่งจะเทียบเท่าตามมาตรฐาน ASTM A29/A29M หรือมาตรฐานญี่ปุ่นคือ JIS G4053:SCM440 จัดอยู่ในกลุ่มเหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง ในกลุ่มโลหะผสมต่ำที่มีความแข็งแรงสูง …
♦ รูปแบบการถ่ายเทน้ำโลหะ ในกระบวนการเชื่อม MIG ..ต่างกันอย่างไร?
โดย ชัชชัย อินนุมาตร ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ บจก. เทอร์มอล แมคคานิคส์ “…การเปลี่ยนแปลงค่าพารามิเตอร์ทางการเชื่อม จะทำให้ลักษณะการถ่ายเทน้ำโลหะของลวดเชื่อมลงสู่ชิ้นงานนั้นเปลี่ยนแปลงไป และส่งผลต่อรูปลักษณ์และคุณสมบัติของแนวเชื่อมอย่างมีนัยสำคัญ…” บทความนี้จะช่วยให้ท่านได้แนวเชื่อมที่ดี สำหรับกระบวนการเชื่อมแบบมิก สำหรับช่างเชื่อมหรือผู้ที่ใช้งานเครื่องเชื่อมแบบมิก (MIG Welding Machine) หรือที่เรียกกันตามภาษาช่างบ้านเราคือ เครื่องเชื่อมซีโอทูนั้น คงคุ้นเคยและทราบดีอยู่แล้วว่าการที่จะได้ลักษณะการอาร์คที่ดี สม่ำเสมอ เพื่อให้ได้แนวเชื่อมที่สวยงามนั้น จำเป็นจะต้องปรับความเร็วในการป้อนลวดและแรงดันไฟฟ้าเชื่อมให้เหมาะสมกัน ไม่สามารถปรับเพียงกระแสเชื่อมเพียงอย่างเดียวเฉกเช่นการเชื่อมแบบไฟฟ้าอาร์คด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ สำหรับกระบวนการเชื่อมแบบ MIG นั้น จำเป็นต้องมีการปรับปัจจัยทางการเชื่อม (Welding Parameters) มากกว่าการเชื่อมแบบไฟฟ้าอาร์คด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ โดยการเชื่อมแบบ MIG จะปรับกระแสเชื่อม (Welding Current) ด้วยการเพิ่มหรือลดความเร็วการป้อนลวด (Wire Feed Speed) และต้องสัมพันธ์กับแรงดันไฟฟ้าเชื่อม (Welding Voltage) อีกทั้งต้องพิจารณาถึงประเภทและขนาดของลวดเชื่อมที่ใช้ …
♦ อลูมิเนียม – เชื่อมได้อย่างง่ายดาย ด้วยเครื่อง MIG Pulse
เขียนโดย ชัชชัย อินนุมาตร ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ บจก. เทอร์มอล แมคคานิคส์ “อลูมิเนียมเป็นโลหะที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ การให้ปริมาณความร้อนสูงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานกับที่บาง ทำให้เกิดการหลอมทะลุหรือบิดตัวได้อย่างรวดเร็ว” ช่างเชื่อมบางท่าน อาจจะเคยได้ยิน หรืออาจจะเคยมีประสบการณ์มาบ้างแล้วว่า เมื่อต้องเชื่อมอลูมิเนียมด้วยกระบวนการเชื่อมแบบ MIG จะมีความร้อนเกิดขึ้นมากกว่าการเชื่อมเหล็กมาก สาเหตุเป็นเพราะว่า อลูมิเนียมเป็นโลหะที่สามารถนำความร้อนได้มากกว่าเหล็กถึง 5 เท่า ดังนั้น เมื่อทำการเชื่อม ความร้อนที่เกิดขึ้นจะถูกถ่ายเทจากจุดเชื่อมออกไปยังบริเวณอื่น ทำให้บริเวณจุดเชื่อมมีความร้อนไม่พอเพียง ลวดเชื่อมจึงหลอมละลายได้ไม่ดีและควบคุมแนวเชื่อมยาก ดังนั้น การเชื่อมอลูมิเนียมจึงต้องการปริมาณความร้อนที่ให้ชิ้นงาน (Heat Input) มากกว่าการเชื่อมเหล็ก เพื่อชดเชยการถ่ายเทความร้อนที่เกิดขึ้นภายในเนื้อโลหะอลูมิเนียม นี่คือเหตุผลว่าทำไมการเชื่อมอลูมิเนียมจึงมีความร้อนเกิดขึ้นสูงกว่าการเชื่อมเหล็ก แต่หากพิจารณาในเชิงวิศวกรรมการเชื่อมโลหะ การใช้ปริมาณ Heat Input สูง ไม่เกิดผลดีต่อโครงสร้างโลหะ การใช้ปริมาณ Heat Input สูงๆ อาจทำให้เกิดการหลอมทะลุได้ง่ายหากความหนาของงานเชื่อมไม่มากพอ และสำหรับอลูมิเนียมซึ่งเป็นโลหะที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ …
♦ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเชื่อมด้วยมือ การเชื่อมกึ่งอัตโนมัติและการเชื่อมอัตโนมัติ
กรรมวิธีการในการประยุกต์ใช้กระบวนการเชื่อมต่างๆในการผลิตงานโลหะนั้น มีการแบ่งประเภทตามระดับของผู้เชื่อมและสมรรถนะในการเชื่อมได้แก่ การเชื่อมด้วยมือ (manual welding) การเชื่อมระบบอัตโนมัติ (Semi -automatic welding) การเชื่อมโดยใช้เครื่องจักร (mechanized welding) การเชื่อมระบบอัตโนมัติ (automated welding) และการเชื่อมด้วยหุ่นยนต์ (robotic welding) American National Standard, Standard Welding Terms and Definitions, AWS A3.0:2001 ได้ให้คำจำกัดความที่เกี่ยวข้องไว้ดังนี้ การเชื่อมด้วยมือ (Manual Welding) หมายถึง การเชื่อมด้วยหัวเชื่อม ปืนเชื่อม หรือหัวจับลวดเชื่อมและดำเนินการเชื่อมด้วยมือ ช่างเชื่อมทำหน้าที่เชื่อมและรักษความต่อเนื่องของการเชื่อมด้วยมือ การเชื่อมกึ่งอัตโนมัติ (Semi-Automatic Welding) หมายถึง การเชื่อมมือด้วยอุปกรณ์ที่ควบคุมโดยอัตโนมัติในหนึ่งสภาวะของการเชื่อมหรือมากกว่านั้น ช่างเชื่อมจะใช้ปืนเชื่อมในขณะที่ลวดเชื่อมจะถูกป้อนอัตโนมัติ การเชื่อมโดยใช้เครื่องจักร …
♦ เทคนิคการเจาะรูเหล็กโครงสร้างและโลหะแผ่นด้วยดอกเจ็ทบอสจาก Drill Master
การเลือกใช้เครื่องมือเจาะรูเหล็กโครงสร้างหรือโลทะแผ่นที่หน้างานหรือในโรงงานนั้นเป็นเรื่องที่จำเป็นโดยเฉพาะการเจาะรู้โลหะ เช่น เหล็ก หรือแสตนเลส การเข้าใจในความแตกต่างระหว่างดอกสว่านแบบทั่วไป (twist drill) และดอกเจาะด้วยการกัดขอบแบบเจ็ทบอส (annular cutter or tungsten carbide tipped cutter) จะช่วยให้คุณสามารถทำงนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใกำลังและเวลาที่น้อยกว่า การทำงานของดอกสว่านแบบทั่วไป การเจาะรูชิ้นงานโลหะด้วยดอกสว่านแบบธรรมดาเป็นวิธีการที่ใช้กันทั่วไป แต่ว่าด้วยใบดของดอกสว่านที่มีอยู่เพียง 2 แถบ และด้วยอัตราความเร็วในการเจาะ ณ บริเวณเข้าใกล้จดกลาง จะใกล้เคียง 0 ทำให้ต้องใช้แรงกดหรือแรงดัที่สูงกว่าในการคว้านเนื้อเหล็ก ทำให้การเจาะแบบนี้นอกจากจะต้องใช้กำลังแรงม้าที่สูงกว่าอีกทั้งยังกินเวลาในการเจาะมากกว่าด้วย เพราะจะต้องกัด คว้านเนื้อเหล็กในรูให้ออกมาให้หมด การทำงานของสว่านแบบกัดขอบหรือดอกเจ็ทบอส การเจาะรูในชิ้นงานโลหะด้วยดอกเจาะแบบกัดขอบหรือเจ็ทบอส จะให้ประสิทธิภาพสูงกว่า เมื่อรูที่ต้องการมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 11 – 125 มม ลึก 76 มม โดยจะมีความแม่นยำสูงถึง +0.1 …
♦ เพราะเหตุใด มุมทังสเตนจึงมีผลต่อการเชื่อม?
เขียนโดย ชัชชัย อินนุมาตร บจก. เทอร์มอล แมคคานิคส์ ***สามารถดูข้อมูลทังสเตน เพิ่มเติมได้ที่ https://thermal-mech.com/product/laser-filler-wires/ “….มุมของปลายทังสเตน มีผลต่อลักษณะของอาร์คและการกระจายความหนาแน่นของพลังงานอีกทั้งส่งผลต่อลักษณะการหลอมลึกของแนวเชื่อม มุมทังสเตนที่แหลม จะทำให้อาร์คกว้างและมีการหลอมลึกที่ตื้น….” ในการเชื่อมแบบก๊าซทังสเตนอาร์ค หรือ ทิก ( Gas Tungsten Arc Welding or Tungsten Inert Gas; TIG) หรือตามภาษาช่างเชื่อมทั่วไปรู้จักกันว่า “การเชื่อมอาร์กอน” นั้น เป็นที่ทราบกันดีว่า การเชื่อมลักษณะนี้จะเป็นการเชื่อมโดยอาศัยการอาร์คระหว่างแท่งอิเล็คโทรดที่ทำจากทังสเตนกับชิ้นงานที่นำมาเชื่อม จนกระทั่งเกิดบ่อหลอมละลายและเกิดการประสานกันระหว่างชิ้นงาน โดยที่อาจจะใช้ลวดเชื่อมร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น ชิ้นส่วนสำคัญชิ้นหนึ่งที่จำเป็นและขาดเสียมิได้ สำหรับกระบวนการเชื่อมแบบนี้คือ แท่งทังสเตนที่ทำหน้าที่เป็นอิเล็คโทรดนั่นเองและเป็นที่ทราบกันดี ในหมู่ช่างเชื่อมว่าทังสเตนที่นำมาใช้นั้นมีหลากหลายชนิด และต้องมีการเตรียมหรือทำการลับปลายทังเสตนให้ถูกต้องตามลักษณะของงานที่ทำการเชื่อม โดยทั่วไป กรณีการเชื่อมอลูมิเนียม ที่ใช้ทังสเตนบริสุทธิ์ที่มีรหัสสีเขียว จะมีการเตรียมปลายทังสเตนให้เป็นรูปทรงมน แต่การเชื่อมโลหะอื่น เช่นสแตนเลส …