♦ ทังสเตนหัวแดง ร้ายแรงจริงหรือ.. ?
โดย ชัชชัย อินนุมาตร บจก.เทอร์มอล แมคคานิคส์ “………….บทความนี้จะไขปริศนาที่เจ้าทังสเตนสีแดงนี้ มีคำเล่าลือและโดนกล่าวหาว่า เป็นตัวการแผ่รังสีที่ทำให้เกิดมะเร็งนั้น จริงหรือไม่………… ” “พี่ครับ อย่าใช้ทังสเตนหัวแดงเลย … มันแผ่รังสี อันตรายนะครับ ….ใช้สีอื่นดีกว่า” “ทังสเตนสีแดง มีสารก่อมะเร็ง เปลี่ยนไปใช้สีอื่นดีกว่า” “ทังสเตนสีแดง เค้าห้ามใช้นะ มันอันตราย” …
♦ Air Carbon Arc Gouging
ความแตกต่างหลักระหว่างเทคนิคการเซาะร่องนี้กับเทคนิคอื่นๆ คือ ใช้ลมเจ็ทเป่าเพื่อขับโลหะหลอมเหลวออกจากร่องบนชิ้นงาน กระบวนการ Air carbon arc gouging กระบวนการอาร์กไฟฟ้าจะถูกสร้างขึ้นระหว่างส่วนปลายของอิเล็กโทรดคาร์บอน(ลวดเก๊าจ์)กับชิ้นงาน โลหะจะหลอมเหลวและใช้ลมเจ็ทความเร็วสูงเพื่อเป่าโลหะหลอมเหลวออกไป ทำให้เกิดการเซาะร่องที่สะอาด กระบวนการนี้ใช้งานง่าย (โดยใช้อุปกรณ์เดียวกับการเชื่อม MMA) มีอัตราการขจัดเนื้อโลหะสูงและสามารถควบคุมแนวเซาะร่องได้ง่าย ข้อเสียคือไอพ่นลมทำให้โลหะหลอมเหลวพุ่งออกมาค่อนข้างไกล และเนื่องจากใช้กระแสไฟฟ้าที่สูง (ทั่วไป 600 -2000 แอมป์)และความดันอากาศสูง (80 ถึง 100 psi) ส่งผลให้เกิดเสียงดังได้ ลักษณะการใช้งาน เนื่องจาก Air carbon arc gouging ไม่ต้องอาศัยการออกซิเดชัน จึงใช้กับโลหะได้หลายชนิด กระแสไฟ DC จะนิยมใช้กับเหล็กกล้าและเหล็กกล้าไร้สนิม แต่กระแสไฟ AC จะมีประสิทธิภาพมากกว่าสำหรับเหล็กหล่อ ทองแดง และโลหะผสมนิกเกิล สามารถใช้งานทั่วไปรวมถึงการเซาะร่อง การกำจัดพื้นผิวและข้อบกพร่องภายใน การกำจัดโลหะเชื่อมส่วนเกิน …
♦ แนวทางในการเลือกลวดเชื่อม สำหรับเชื่อมเหล็กกล้าผสมต่ำ เกรด 4140
Filler Metals Selection Guide for Welding 4140 Low–Alloy Steels โดย ชัชชัย อินนุมาตร ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ บจก. เทอร์มอล แมคคานิคส์ “…การเลือกลวดเชื่อมให้ตรงกับความแข็งแรงที่ต้องการในสภาวะกำหนดเป็นเรื่องที่ยาก บทความนี้จะให้แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด สำหรับการเลือกลวดเชื่อมที่เหมาะสมสำหรับการเชื่อมเหล็กกล้าผสมต่ำ เกรด 4140…” โลหะเหล็กกล้าผสมต่ำ เกรด 4140 (Low Alloy Steel 4140) รู้จักกันดีในตลาดค้าขายเหล็กในประเทศไทย ในนาม “เหล็กหัวฟ้า” เหล็กชนิดนี้หากอ้างอิงตามมาตรฐานสากลแล้ว จัดอยู่ในกลุ่มมาตรฐาน AISI 4140 ซึ่งจะเทียบเท่าตามมาตรฐาน ASTM A29/A29M หรือมาตรฐานญี่ปุ่นคือ JIS G4053:SCM440 จัดอยู่ในกลุ่มเหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง ในกลุ่มโลหะผสมต่ำที่มีความแข็งแรงสูง …
♦ รูปแบบการถ่ายเทน้ำโลหะ ในกระบวนการเชื่อม MIG ..ต่างกันอย่างไร?
โดย ชัชชัย อินนุมาตร ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ บจก. เทอร์มอล แมคคานิคส์ “…การเปลี่ยนแปลงค่าพารามิเตอร์ทางการเชื่อม จะทำให้ลักษณะการถ่ายเทน้ำโลหะของลวดเชื่อมลงสู่ชิ้นงานนั้นเปลี่ยนแปลงไป และส่งผลต่อรูปลักษณ์และคุณสมบัติของแนวเชื่อมอย่างมีนัยสำคัญ…” บทความนี้จะช่วยให้ท่านได้แนวเชื่อมที่ดี สำหรับกระบวนการเชื่อมแบบมิก สำหรับช่างเชื่อมหรือผู้ที่ใช้งานเครื่องเชื่อมแบบมิก (MIG Welding Machine) หรือที่เรียกกันตามภาษาช่างบ้านเราคือ เครื่องเชื่อมซีโอทูนั้น คงคุ้นเคยและทราบดีอยู่แล้วว่าการที่จะได้ลักษณะการอาร์คที่ดี สม่ำเสมอ เพื่อให้ได้แนวเชื่อมที่สวยงามนั้น จำเป็นจะต้องปรับความเร็วในการป้อนลวดและแรงดันไฟฟ้าเชื่อมให้เหมาะสมกัน ไม่สามารถปรับเพียงกระแสเชื่อมเพียงอย่างเดียวเฉกเช่นการเชื่อมแบบไฟฟ้าอาร์คด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ สำหรับกระบวนการเชื่อมแบบ MIG นั้น จำเป็นต้องมีการปรับปัจจัยทางการเชื่อม (Welding Parameters) มากกว่าการเชื่อมแบบไฟฟ้าอาร์คด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ โดยการเชื่อมแบบ MIG จะปรับกระแสเชื่อม (Welding Current) ด้วยการเพิ่มหรือลดความเร็วการป้อนลวด (Wire Feed Speed) และต้องสัมพันธ์กับแรงดันไฟฟ้าเชื่อม (Welding Voltage) อีกทั้งต้องพิจารณาถึงประเภทและขนาดของลวดเชื่อมที่ใช้ …
♦ อลูมิเนียม – เชื่อมได้อย่างง่ายดาย ด้วยเครื่อง MIG Pulse
เขียนโดย ชัชชัย อินนุมาตร ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ บจก. เทอร์มอล แมคคานิคส์ “อลูมิเนียมเป็นโลหะที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ การให้ปริมาณความร้อนสูงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานกับที่บาง ทำให้เกิดการหลอมทะลุหรือบิดตัวได้อย่างรวดเร็ว” ช่างเชื่อมบางท่าน อาจจะเคยได้ยิน หรืออาจจะเคยมีประสบการณ์มาบ้างแล้วว่า เมื่อต้องเชื่อมอลูมิเนียมด้วยกระบวนการเชื่อมแบบ MIG จะมีความร้อนเกิดขึ้นมากกว่าการเชื่อมเหล็กมาก สาเหตุเป็นเพราะว่า อลูมิเนียมเป็นโลหะที่สามารถนำความร้อนได้มากกว่าเหล็กถึง 5 เท่า ดังนั้น เมื่อทำการเชื่อม ความร้อนที่เกิดขึ้นจะถูกถ่ายเทจากจุดเชื่อมออกไปยังบริเวณอื่น ทำให้บริเวณจุดเชื่อมมีความร้อนไม่พอเพียง ลวดเชื่อมจึงหลอมละลายได้ไม่ดีและควบคุมแนวเชื่อมยาก ดังนั้น การเชื่อมอลูมิเนียมจึงต้องการปริมาณความร้อนที่ให้ชิ้นงาน (Heat Input) มากกว่าการเชื่อมเหล็ก เพื่อชดเชยการถ่ายเทความร้อนที่เกิดขึ้นภายในเนื้อโลหะอลูมิเนียม นี่คือเหตุผลว่าทำไมการเชื่อมอลูมิเนียมจึงมีความร้อนเกิดขึ้นสูงกว่าการเชื่อมเหล็ก แต่หากพิจารณาในเชิงวิศวกรรมการเชื่อมโลหะ การใช้ปริมาณ Heat Input สูง ไม่เกิดผลดีต่อโครงสร้างโลหะ การใช้ปริมาณ Heat Input สูงๆ อาจทำให้เกิดการหลอมทะลุได้ง่ายหากความหนาของงานเชื่อมไม่มากพอ และสำหรับอลูมิเนียมซึ่งเป็นโลหะที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ …
♦ เพราะเหตุใด มุมทังสเตนจึงมีผลต่อการเชื่อม?
เขียนโดย ชัชชัย อินนุมาตร บจก. เทอร์มอล แมคคานิคส์ ***สามารถดูข้อมูลทังสเตน เพิ่มเติมได้ที่ https://thermal-mech.com/product/laser-filler-wires/ “….มุมของปลายทังสเตน มีผลต่อลักษณะของอาร์คและการกระจายความหนาแน่นของพลังงานอีกทั้งส่งผลต่อลักษณะการหลอมลึกของแนวเชื่อม มุมทังสเตนที่แหลม จะทำให้อาร์คกว้างและมีการหลอมลึกที่ตื้น….” ในการเชื่อมแบบก๊าซทังสเตนอาร์ค หรือ ทิก ( Gas Tungsten Arc Welding or Tungsten Inert Gas; TIG) หรือตามภาษาช่างเชื่อมทั่วไปรู้จักกันว่า “การเชื่อมอาร์กอน” นั้น เป็นที่ทราบกันดีว่า การเชื่อมลักษณะนี้จะเป็นการเชื่อมโดยอาศัยการอาร์คระหว่างแท่งอิเล็คโทรดที่ทำจากทังสเตนกับชิ้นงานที่นำมาเชื่อม จนกระทั่งเกิดบ่อหลอมละลายและเกิดการประสานกันระหว่างชิ้นงาน โดยที่อาจจะใช้ลวดเชื่อมร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น ชิ้นส่วนสำคัญชิ้นหนึ่งที่จำเป็นและขาดเสียมิได้ สำหรับกระบวนการเชื่อมแบบนี้คือ แท่งทังสเตนที่ทำหน้าที่เป็นอิเล็คโทรดนั่นเองและเป็นที่ทราบกันดี ในหมู่ช่างเชื่อมว่าทังสเตนที่นำมาใช้นั้นมีหลากหลายชนิด และต้องมีการเตรียมหรือทำการลับปลายทังเสตนให้ถูกต้องตามลักษณะของงานที่ทำการเชื่อม โดยทั่วไป กรณีการเชื่อมอลูมิเนียม ที่ใช้ทังสเตนบริสุทธิ์ที่มีรหัสสีเขียว จะมีการเตรียมปลายทังสเตนให้เป็นรูปทรงมน แต่การเชื่อมโลหะอื่น เช่นสแตนเลส …
♦ เพิ่มคุณภาพในการเชื่อมอลูมิเนียมแบบทิก ด้วยการเลือกใช้ทังสเตนอิเล็คโทรดที่ถูกต้อง
ผู้เขียน ชัชชัย อินนุมาตร ….งานเชื่อมอลูมิเนียมที่ดี ต้องใช้เครื่องเชื่อมดี และใช้ทังสเตนอิเล็คโทรดให้ถูกต้อง การเลือกใช้ทังสเตนอิเล็คโทรดที่เหมาะสมกับงาน นับเป็นก้าวแรกของการควบคุมคุณภาพงานเชื่อม. แม้ว่าการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี จะเป็นไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทำให้วิธีการเชื่อมโลหะสามารถปฏิบัติได้ง่าย และมีระบบหรือวิธีการเชื่อมหลากหลายให้เลือกใช้ แต่ในภาคอุตสาหกรรมของไทย การเชื่อมโลหะจำพวกอลูมิเนียม หรือแมกนีเซียม ส่วนมากยังคงใช้กรรมวิธีการเชื่อมแบบก๊าซทังสเตนอาร์ค (Gas Tungsten Arc Welding; GTAW) หรือ ทิก (Tungsten Inert Gas; TIG) หรือที่ช่างเชื่อมทั่วไปมักจะเรียกว่า “การเชื่อมแบบอาร์กอน” เนื่องจากเป็นวิธีการเชื่อมที่ให้คุณภาพงานเชื่อมที่ดีมาก สามารถควบคุมแนวเชื่อมได้ง่าย มีต้นทุนในการปฏิบัติงานต่ำ แต่อย่างไรก็ตาม การเชื่อมโลหะอลูมิเนียมหรือแมกนีเซียมด้วยการเชื่อมแบบทิก เจ้าของงานยังต้องอาศัยช่างเชื่อมที่มีความชำนาญ คุณภาพงานเชื่อมที่ได้นั้นขึ้นอยู่กับฝีมือและประสบการณ์ของช่างเชื่อมมากกว่าร้อยละ 80 แม้ว่าเจ้าของงานอาจจะจัดหาเครื่องเชื่อมที่ดีและอุปกรณ์ช่วยในการเชื่อมหรืออุปกรณ์ประกอบอื่นๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพงานเชื่อมก็ตาม แต่ชิ้นส่วนพื้นฐานที่มีอิทธิพลต่อรูปลักษณะของแนวเชื่อม ความกว้าง ความลึกของแนวเชื่อม และส่งผลต่อคุณภาพงานเชื่อมโดยตรง โดยที่เจ้าของงานอาจจะมองข้ามความสำคัญไป นั่นคือทังสเตนอิเล็คโทรด …
♦ ลดเม็ดเชื่อม ด้วยการปรับอินดักแต๊นซ์
ผู้เขียน ชัชชัย อินนุมาตร ……“เม็ดเชื่อม” หรือ “สะเก็ดเชื่อม” ชื่อเรียกง่ายๆ ตามนิยมของช่างเชื่อม มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Spatter (สแปตเตอร์) ผิวหน้างานที่อุดมด้วยเม็ดเชื่อม ไม่ต่างอะไรกับใบหน้าที่เต็มไปด้วยเม็ดสิว มองยังไงก็ไม่เป็นที่ชื่นชม” ในบทความนี้ จะกล่าวถึง Spatter ที่เกิดขึ้นในกระบวนการเชื่อมแบบ MIG/MAG และการใช้ฟังก์ชั่นการทำงานของเครื่องเชื่อมช่วยลดอัตราการเกิด spatter……… ////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////// ……..แจ๊ดดดดดดดดด……หลังจากสิ้นสุดเสียงเชื่อมและแสงไฟเชื่อมดับลง ผมสะดุ้งตกใจเล็กน้อยกับเสียงอันดุดันที่อยู่ด้านหลังผม “เอ็งเชื่อมยังไงเนี่ย ทำไมเม็ดเชื่อมเต็มไปหมด ยังงี้เด็กก็เก็บงานกันตายสิ” เสียงพี่หมู หัวหน้าฝ่ายผลิต ตะเบ็งเสียงแข่งกับเสียงเครื่องจักรที่อยู่ใกล้ๆ “ผมปรับไฟดีแล้วนะพี่ ดูสิ แนวเชื่อมก็สวยนะ แต่ทำไมเม็ดเชื่อมมันเยอะก็ไม่รู้” ผมไม่วายที่จะเถียงเล็กน้อย “แล้วทำไมเอ็งไม่ปรับอินดักแต๊นซ์ เนี่ย! ปุ่มนี้” พี่หมูชี้ไปที่เครื่องแล้วเอื้อมมือไปปรับปุ่มที่หน้าเครื่องให้ “เอ๊า ! ลองเชื่อมดูใหม่” “เออ…. จริงด้วยพี่ …
♦ ไอระเหย ควันและแก๊สจากการเชื่อมโลหะ อันตรายที่ถูกมองข้าม
เรียบเรียงโดย ชัชชัย อินนุมาตร ในปัจจุบันกระบวนการเชื่อมโลหะนั้นนับว่ามีความสำคัญมากอย่างหนึ่งในอุตสาหกรรม ในผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่งๆ อาจจะต้องมีการประกอบจากชิ้นส่วนโลหะย่อยๆเป็นสิบเป็นร้อยชิ้น การประกอบงานนั้นหากว่าไม่มีการเชื่อมโลหะแล้วอาจทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นได้มากทีเดียว และเคยมีผู้กล่าวไว้ว่ารถยนต์ที่ท่านใช้อยู่อาจจะมีราคาแพงกว่าหลายเท่าตัวถ้าไม่ใช้การเชื่อมโลหะ แต่หากท่านสังเกตจะพบว่า เมื่อใดที่มีการเชื่อมโลหะจะต้องมีควันเกิดขึ้นทุกครั้ง และท่านได้คิดบ้างหรือไม่ว่า ควันที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอันตรายต่อท่านและมันสามารถทำให้ท่าน “ตายผ่อนส่ง” ได้อย่างไม่รู้ตัว ช่างเชื่อมที่เชื่อมโลหะในงานบางประเภท เช่น การเชื่อมสแตนเลส, เหล็กเคลือบสังกะสี หรือ ท่อเหล็กเคลือบสังกะสี หรือการเชื่อมชิ้นงานที่ผ่านการชุบเคลือบผิวมาแล้ว บุคคลจำพวกนี้มักจะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายสูง ในการเชื่อมโลหะจะมี ไอระเหย (Fumes) เกิดขึ้นจากการที่โลหะได้รับความร้อนสูงจนกระทั่งหลอมละลายและเกิดไอระเหยของโลหะ เมื่อไอระเหยถูกควบแน่น (Condense) จะอยู่ในรูปอนุภาคของแข็งที่ละเอียดมาก (Solid fine particle) [1] ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน (0.001 มม.) [2] ไอระเหยนี้จะมีส่วนประกอบสองส่วน คือไอระเหยที่มองเห็นได้ ซึ่งเราจะเห็นในลักษณะเปลวควันและอยู่ในรูปของออกไซด์ของโลหะ และไอระเหยที่มองไม่เห็นซึ่งเป็นส่วนประกอบของแก๊ส เรียกว่าไอระเหยของแก๊ส [5] …
♦ 6 ขั้นตอนที่ถูกต้องในการแล่นประสาน
ผู้เรียบเรียง : ชัชชัย อินนุมาตร การแล่นประสาน เป็นคำภาษาไทยที่แปลความหมายมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Brazing ในเชิงวิชาการจะเรียกการต่อโลหะแบบ Brazing ว่า “การแล่นประสาน” หรือ “การบัดกรีแข็ง” ในขณะที่คำว่า Soldering ในเชิงวิชาการจะเรียกว่า “การบัดกรีอ่อน” หรือ “การบัดกรี” โดยในการใช้งานปัจจุบัน การ Brazing จะสื่อความกันด้วยคำทับศัพท์ ว่า “บราซซิ่ง” หรือ “เบรซซิ่ง” กล่าวโดยย่อ การ Brazing คือการต่อโลหะวิธีหนึ่งโดยการให้ความร้อนแก่รอยต่อ จนกระทั่งถึงอุณหภูมิที่สามารถทำให้โลหะเติมหลอมละลาย โดยทั่วไปจะมีระดับอุณหภูมิสูงกว่า 450°C แตไม่ถึงระดับอุณหภูมิหลอมเหลวของโลหะชิ้นงาน เมื่อให้ความร้อนแก่รอยต่อจนกระทั่งถึงระดับอุณหภูมิที่สามารถทำให้โลหะเติมหลอมละลายแล้ว ก็จะป้อนโลหะเติมหรือลวดให้เข้าไปประสานกับรอยต่อและปล่อยให้เย็นตัวลง ก็จะได้รอยต่อที่ประสานกันอย่างสมบูรณ์ กระบวนการต่อโลหะด้วยวิธี Brazing นี้ ดูเหมือนง่ายและไม่ซับซ้อน แต่ความจริงในทางปฏิบัติ จะมีรายละเอียดปลีกย่อยพอสมควรที่ผู้ใช้จะต้องพิจารณาและตระหนักถึงเสมอในขณะที่ปฏิบัติงาน …