การเลือกแว่นตาป้องกันแสงเลเซอร์ อย่างถูกต้องและเหมาะสม
บทความนี้จะบอกถึงวิธีคร่าวๆ เพื่อพิจารณาเลือกใช้แว่นตาป้องกันแสงเลเซอร์ เพื่อการใช้ในทำงานกับเลเซอร์ประเภทต่างๆ จริงหรือไม่ที่แสงเลเซอร์เป็นอันตรายกับดวงตาเรา แสงเลเซอร์ทุกชนิดมีโอกาสที่จะทำอันตรายกับดวงตาของเราแน่นอน เนื่องจากแสงเลเซอร์มีความเข้มของแสงที่ค่อนข้างมาก ดังนั้นมันจึงมีพลังงานมากกว่าแสงจากหลอดไฟที่ใช้กันหลายร้อยเท่า แม้ว่ามันจะดูว่าปลอดภัย อย่าง Laser pointer หรือปากกาเลเซอร์ที่ใช้ในการชี้ตำแหน่งต่างๆ ซึ่งใช้กันอยู่ทั่วไปก็สามารถทำอันตรายกับดวงตาเราได้ หากใช้ไม่ไม่ถูกต้อง ดังนั้นเลเซอร์ส่วนใหญ่ถ้าหากมีการใช้งานก็จะต้องมีการป้องกันดวงตาเสมอ เลเซอร์อินฟราเรดและยูวี มีลำแสงที่ทำงานเกินกว่าสเปกตรัมที่ตามนุษย์จะมองเห็นได้ นี่ถือว่าเป็นอันตรายอย่างมากเพราะมันอาจจะทำอันตรายกับดวงตาของคุณโดยไม่รู้ตัว กว่าจะรู้ก็สายไปเสียแล้ว แว่นตาป้องกันแสงเลเซอร์ปกป้องดวงตาเราได้อย่างไร แว่นตาเลเซอร์ใช้วิธีการลดทอนแสง โดยจะจำกัดปริมาณพลังงานแสงที่ผ่านเลนส์ เลนส์ของแว่นตาเลเซอร์อาจจะทำมาจากกระจกหรือพลาสติกก็ได้ ซึ่งเลนส์กระจกจะมีองค์ประกอบที่สามารถดูดซับพลังงานแสงได้ จึงสามารถป้องกันคลื่นแสงไม่ให้เข้าถึงดวงตาของเราได้ ส่วนเลนส์พลาสติกนั้นสามารถใส่สีสังเคราะห์เข้าไป เพื่อปิดกั้นการผ่านของแสงที่ความยาวคลื่นได้ในบางช่วงคลื่น ดังนั้นเลนส์พลาสติกจึงสามารถป้องกันแสงในความยาวคลื่นเฉพาะช่วงคลื่นแสงที่กำหนดได้ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงต้องรู้ว่าเราจะป้องกันตัวเองจากแสงเลซอร์ที่ความยาวคลื่นในช่วงใด จากการที่เลนส์พลาสติกสามารถใส่สีสังเคราะห์เพื่อป้องกันแสงได้นั้น เราจึงเห็นได้ว่าเลนส์กระจกจะมีความใสมากกว่าเลนส์พลาสติก สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาก่อนที่จะเลือกซื้อแว่นตาเลเซอร์ให้เหมาะสมกับชนิดของเลเซอร์ที่คุณใช้ – ปริมาณการลดทอนของแสงเลเซอร์ ในความยาวคลื่นใดๆ : เช่นแว่นตารุ่นนี้สามารถป้องกันหรือลดทอนแสงเลเซอร์ในช่วงความยาวคลื่นมีตั้งแต่รังสีอัลตราไวโอเลต (100-400 นาโนเมตร) ไปจนถึงคลื่นแสงช่วงที่มองเห็นได้ (440-750 นาโนเมตร) – เลเซอร์ที่ใช้งานเป็นลักษณะเป็นพัลส์หรือไม่ : ความสม่ำเสมอของแสงเลเซอร์,แสงเลเซอร์ที่ใช้งานออกมาแบบเดี่ยวๆหรือซ้ำๆ …
♦ อันตรายจากควันเชื่อม
อันตรายจากควันเชื่อม สถาบันความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ(NIOSH) ระบุว่ามีแรงงานมากกว่า 400,000 คนในสหรัฐอเมริกา ที่ทำงานเกี่ยวกับการเชื่อม ซึ่งจากการสำรวจพบว่าแรงงานเหล่านี้มีความเสี่ยงกับโรคระบบทางเดินหายใจ ระบบทางประสาท และระบบสืบพันธุ์ที่รุนแรง โดยมีข้อมูลอ้างอิงจากบทความต่างๆ ต่อไปนี้ ในปี 2003 NIOSH ตีพิมพ์เรื่อง “ผลกระทบของการเชื่อมต่อสุขภาพของแรงงาน” จากบทความ “ผลกระทบของการเชื่อมต่อสุขภาพของแรงงาน” จากการสำรวจข้อมูลที่ผ่านมาพบว่า ช่างเชื่อมมีการอาการของโรคหลอดลมอักเสบ ระคายเคืองเยื่อบุทางเดินหายใจ และโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอื่นๆอีกจำนวนมาก ข้อมูลเพิ่มเติม จากบทความข้างต้นสามารถตั้งข้อสังเกตได้ว่า ควันจากการเชื่อมทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอด และยังทำลายระบบประสาทด้วย เพราะควันเชื่อมมีส่วนผสมของสารอันตรายต่างๆ เช่น นิกเกิล โครเมียม และแมงกานีส ซึ่งนิกเกิลและโครเมียมจัดเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง และการสัมผัสหรือได้รับสารแมงกานีสเป็นเวลานานๆ มีความเสี่ยงทำให้เกิดโรค Parkinson อีกด้วย จากการศึกษาทางเคมีวิทยานั้น พบว่าควันเชื่อมส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน ระบบประสาท ทำลายความปกติของชั้นผิวหนัง เกิดมะเร็งปอด และสร้างความผิดปกติต่อระบบสืบพันธุ์ การศึกษาทางเคมีวิทยาโดยการทดสอบปฏิกิริยาทางชีวเคมีเมื่อมีการสัมผัสควันเชื่อมในระดับโมเลกุล ในการทดลองในห้องปฏิบัติการ ซึ่งการทดลองดังกล่าวมีผลต่อเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมและเนื้อเยื่อ และอาจนำไปสู่การเกิดเนื้องอก ทำให้เส้นประสาทเสียหาย เกิดความไม่ปกติต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะ The American Federation of …
♦ การป้องกันดวงตาจากแสงที่มาจากการตัดพลาสม่า
เราจะป้องกันดวงตาจากแสงที่เกิดจากการตัดพลาสม่าได้อย่างไร ห้ามจ้องมองที่แสงจ้าของพลาสม่า แสงจากการตัดพลาสม่าหรือลำแสงพลาสม่าอาร์คจัดเป็นลำแสงจากอาร์คทางไฟฟ้าประเภทหนึ่ง ซึ่งจะแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโดยเริ่มจากความถี่ต่ำหรือแสงอินฟาเรด ถึงความถี่ของแสงที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ (Visible light) และเข้าสู่ช่วงความถี่สูง กล่าวคือแสงอัลตร้าไวโอเลท(UV) ความเข้มแสงของพลาสม่าอาร์คนั้นสูงมาก เพราะกำเนิดจากกระแสไฟฟ้าในช่วงสูงถึง 100-800 แอมแปร์ การมองแสงอาร์คด้วยตาเปล่าสามารถทำอันตรายแก่ดวงตาได้อย่างง่ายดาย อาจทำให้การมองเห็นเสื่อมสภาพ แม้กระทั่งส่งผล ให้ตาบอดอย่างถาวรได้อีกด้วย คำแนะนำสำหรับการป้องกันดวงตาเมื่อตัดพลาสม่า ปัจจุบันมีองค์กรไม่มากนักที่จะให้คำแนะนำเราให้ระวังในเรื่องนี้ OSHA, ANSI เป็นหนึ่งในองค์กรเหล่านั้น โดยรายละเอียดด้านล่างนำมาจาก OSHA Fact Sheet ” Eye Protection against Radiant Energy durring Welding and Cutting in Shipyard Employment” (http://www.osha.gov/Publications/OSHAfactsheet-eyeprotection-during-welding.pdf), รวมถึงข้อกำหนดของ ANSI Z49.1:2005 Safety in Welding, Cutting, and …