♦ เพราะเหตุใด มุมทังสเตนจึงมีผลต่อการเชื่อม?
เขียนโดย ชัชชัย อินนุมาตร บจก. เทอร์มอล แมคคานิคส์ ***สามารถดูข้อมูลทังสเตน เพิ่มเติมได้ที่ https://thermal-mech.com/product/laser-filler-wires/ “….มุมของปลายทังสเตน มีผลต่อลักษณะของอาร์คและการกระจายความหนาแน่นของพลังงานอีกทั้งส่งผลต่อลักษณะการหลอมลึกของแนวเชื่อม มุมทังสเตนที่แหลม จะทำให้อาร์คกว้างและมีการหลอมลึกที่ตื้น….” ในการเชื่อมแบบก๊าซทังสเตนอาร์ค หรือ ทิก ( Gas Tungsten Arc Welding or Tungsten Inert Gas; TIG) หรือตามภาษาช่างเชื่อมทั่วไปรู้จักกันว่า “การเชื่อมอาร์กอน” นั้น เป็นที่ทราบกันดีว่า การเชื่อมลักษณะนี้จะเป็นการเชื่อมโดยอาศัยการอาร์คระหว่างแท่งอิเล็คโทรดที่ทำจากทังสเตนกับชิ้นงานที่นำมาเชื่อม จนกระทั่งเกิดบ่อหลอมละลายและเกิดการประสานกันระหว่างชิ้นงาน โดยที่อาจจะใช้ลวดเชื่อมร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น ชิ้นส่วนสำคัญชิ้นหนึ่งที่จำเป็นและขาดเสียมิได้ สำหรับกระบวนการเชื่อมแบบนี้คือ แท่งทังสเตนที่ทำหน้าที่เป็นอิเล็คโทรดนั่นเองและเป็นที่ทราบกันดี ในหมู่ช่างเชื่อมว่าทังสเตนที่นำมาใช้นั้นมีหลากหลายชนิด และต้องมีการเตรียมหรือทำการลับปลายทังเสตนให้ถูกต้องตามลักษณะของงานที่ทำการเชื่อม โดยทั่วไป กรณีการเชื่อมอลูมิเนียม ที่ใช้ทังสเตนบริสุทธิ์ที่มีรหัสสีเขียว จะมีการเตรียมปลายทังสเตนให้เป็นรูปทรงมน แต่การเชื่อมโลหะอื่น เช่นสแตนเลส …